โครงการรู้ทันพิษภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า คุกคามสุขภาพของเด็กและเยาวชนตำบลมะนังยง
ชื่อโครงการ | โครงการรู้ทันพิษภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า คุกคามสุขภาพของเด็กและเยาวชนตำบลมะนังยง |
รหัสโครงการ | 68-L3046-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลมะนังยง |
วันที่อนุมัติ | 17 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกูรอซีดะ บูละ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.813,101.402place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้ปกครองไม่มีความรู้ในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า และสิ่งเสพติดบางประเภท | 50.00 | ||
2 | ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด | 10.00 | ||
3 | ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน | 7.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาการสูบบุหรี่ในพื้นที่ตำบลมะนังยงคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอายุของนักสูบใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปอด ช่องปาก หลอดอาหาร ตับอ่อน โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน กระตุ้นจำนวนเซลล์ผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งเสพติดที่ระบาดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในบุหรี่ไฟฟ้าจะมีสารนิโคตินที่ใช้การทำให้สารน้ำเกิดความร้อน และระเหยเป็นไอน้ำมาให้สูด/สูบ โดยที่ไม่เกิดควันจากการเผาไหม้ ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่าร้อยละ 95 มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ติดสารนิโคตินได้ และในส่วนละอองควัน ที่สูดเข้าปอดนอกจากมีสารนิโคตินแล้วยังพบสารเคมีจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการผลิตและปรุงแต่กลิ่นรส เช่น แอลดีไฮด์โพลีไซคลิค อะชิโตนและโครเมียม ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง จากการสำรวจเด็กและเยาวชนพื้นที่ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีพฤติกรรมการสูบยาสูบ บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า สามารถสูบบุหรี่ได้ทุกสถานที่ ไม่มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชิน และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องมีส่วนร่วมจากสมาชิกในครัวเรือนโดยเฉพาะพ่อแม่หรือผู้ปกครองเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนมิให้ตกเป็นเหยื่อของธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า และไม่ยุ่งเกี่ยวหรืออยากทดลองใช้บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งมีสารพิษ เสพติดและอันตราย ทั้งนี้ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง เล็งเห็นปัญหาที่จะตามมาในอนาคตจึงได้จัดทำโครงการรู้ทันพิษภัยบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ของเด็กและเยาวชนตำบลมะนังยง ขึ้น เพื่อเป็นการลดเด็กและเยาวชนในชุมชนที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน |
7.00 | 5.00 |
2 | เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด |
10.00 | 7.00 |
3 | ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า และสิ่งเสพติดบางประเภท ร้อยละของผู้ปกครองไม่มีความรู้ในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า และสิ่งเสพติดบางประเภท |
50.00 | 40.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน(1 เม.ย. 2568-30 เม.ย. 2568) | 750.00 | ||||||
2 | กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้(12 พ.ค. 2568-31 ก.ค. 2568) | 8,550.00 | ||||||
3 | กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์(4 ส.ค. 2568-20 ส.ค. 2568) | 2,250.00 | ||||||
4 | กิจกรรมติดตามผลและสรุปโครงการ(1 ก.ย. 2568-26 ก.ย. 2568) | 0.00 | ||||||
รวม | 11,550.00 |
1 กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 30 | 750.00 | 0 | 0.00 | 750.00 | |
1 - 30 เม.ย. 68 | กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน | 30 | 750.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 8,550.00 | 0 | 0.00 | 8,550.00 | |
12 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้ | 60 | 8,550.00 | - | - | ||
3 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 2,250.00 | 0 | 0.00 | 2,250.00 | |
4 - 20 ส.ค. 68 | กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ | 0 | 2,250.00 | - | - | ||
4 กิจกรรมติดตามผลและสรุปโครงการ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 90 | 11,550.00 | 0 | 0.00 | 11,550.00 |
- ทำให้ลดจำนวนเด็กและเยาวชนในการเสพสิ่งเสพติด(บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า)
- ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 10:12 น.