กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูเเลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูเเลฟื้นฟูสมรรถภาพ
รหัสโครงการ L1527-01-04-68
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 14,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศศิธร เกตุประกอบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) เป็นแนวโน้มที่ทุกชาติหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ไว้ว่าจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคน พ.ศ.2568 และ 2,000 ล้านคน ในปีพ.ศ.2593 หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรโลกทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในปีพ.ศ.2563 มีประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 18.24 ของประชากรทั้งประเทศและมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2562) คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และในปีพ.ศ.2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุ จำนวนวัยทำงานและวัยแรกเกิดลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย อัตราการพึ่งพิงในปีพ.ศ.2560 พบว่า ประชากรวัยทำงาน 100 คน จะต้องรับภาระประชากรสูงอายุและวัยเด็ก 51 คนและคาดว่าเพิ่มขึ้นเป็น 64 คนในปีพ.ศ.2570 จากการรายงานการประเมินและคัดกรองสุขภาพจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุขผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC ) ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 96.76 ติดบ้านร้อยละ 2.63 และติดเตียงร้อยละ 0.61 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบมักเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 33.11 ภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 0.88 และภาวะหกล้มร้อยละ 3.12 ในปีพ.ศ.2560 มีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มถึง 2,018 คน หรือเฉลี่ยวันละ 6 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากถึง 1,046 คน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คน และร้อยละ 50 ผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาจากการหกล้มเสียชีวิตใน 1 ปี (กรมควบคุมโรค,เมษายน 2562) จังหวัดตรัง จากการรายงานการประเมินและคัดกรองสุขภาพจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC ) ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 97.33 ติดบ้านร้อยละ 1.97 และติดเตียงร้อยละ 0.70 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จากรายงานผลการประเมินและคัดกรองสุขภาพจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุขผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) ข้อมูลปีงบประมาณ  2565 – 2567 ในปีงบประมาร 2568 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 96.76 ติดบ้านร้อยละ 1.62 และติดเตียงร้อยละ 1.62 ปีงบประมาณ 2566 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 96.31 ติดบ้านร้อยละ 0.99 และติดเตียงร้อยละ 2.15 และปีงบประมาณ 2567 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 96.31 ติดบ้านร้อยละ 1.43 และติดเตียงร้อยละ 2.70 จากข้อมูลพบว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มติดเตียงเพิ่มขึ้นทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาวเล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพและพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน เพื่อป้องกันภาวะติดเตียงที่อาจเกิดขึ้นตามมา จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมความรู้เเละพัฒนาศักยภาพในการดูเเลตนเองที่ถูกต้อง

ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมความรู้เเละพัฒนาศักยภาพในการดูเเลตนเองที่ถูกต้อง

90.00
2 เพื่อฟื้นฟูความรู้ พัฒนาศักยภาพของผู้ดูเเลผู้สูงอายุ

ร้อยละ 100 ของผู้ดูเเลผู้สูงอายุ (Care  Giver) เเละบริบาลผู้สูงอายุ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมความรู้เเละพัฒนาศักยภาพในการดูเเลตนเองที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อฟื้นฟูความรู้ พัฒนาศักยภาพของผู้ดูเเลผู้สูงอายุ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 กิจกรรมอบรมผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ 0.00 5,800.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้เเก่ผู้ดูเเลผู้สูงอายุ 0.00 8,580.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 อบรมผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ 35.00 5,800.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 อบรมฟื้นฟูความรู้เเก่ผู้ดูเเลผู้สูงอายุ 7.00 8,580.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ 2.เพื่อลดภาวะติดบ้านติดเตียงที่อาจเกิดขึ้นเเละลดค่าใช้จ่ายในการดูเเลระยะยาว 3.ผู้ดูเเลผู้สูงอายุมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูเเลฟื้นฟูสมรรถภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 10:17 น.