กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนใส่ใจ เด็กตำบลม่วงเตี้ย ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปีงบประมาณ 2567 จังหวัดปัตตานี มีการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคหัด และโรคไอกรน โดยสถานการณ์การระบาดของโรคหัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยทั้งหมด 3,302 คน พบผู้เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี ทั้งหมด โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยที่ไม่เคยฉีดวัคซีนร้อยละ 71.3 ได้รับวัคซีน 1 เข็ม ร้อยละ 3.1 ได้รับวัคซีน 2 เข็ม ร้อยละ 2.3 และไม่ทราบข้อมูลวัคซีน ร้อยละ 23.4 ในปี 2567 พบการระบาดของโรคหัดสูงที่สุดในรอบ 10 ปี จำนวนผู้ป่วยสูงที่สุดในช่วงเดือน สิงหาคม และกันยายน 2567 โดยความครอบคลุมการได้รับวัคซีนที่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ซึ่งประชากรเสี่ยงหลักคือเด็กอายุ น้อยกว่า 5 ปี รองลงมาได้แก่ เด็กอายุ 5-9 ปี และ 10-14 ปี การระบาดเป็นกลุ่มก้อนส่วนใหญ่พบในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานการณ์การระบาดของโรคไอกรน ปี 2566-2567 พบผู้ติดเชื้อ 260 ราย เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี ทั้งหมด โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีนร้อยละ 62.79 ได้รับครบตามเกณฑ์ร้อยละ 12.20 ไม่ครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 10.71 ไม่ทราบ ร้อยละ 14.28
สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคหัด อำเภอแม่ลาน ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 31 ราย เป็นพื้นที่ตำบลแม่ลาน 5 ราย (ม.9 = 2 ราย, ม.1 = 1 ราย และ หมู่ที่ 4 = 1 ราย) ตำบลม่วงเตี้ย 21 ราย (ม.1 = 3ราย ม.2 = 6 ราย , ม.3 = 7 ราย, ม.5= 1 ราย, ม.4 = 2 รายและหมู่ที่ 6 = 2) ตำบลป่าไร่ 5 ราย (ม.7= 1 ราย, ม.6=3 ราย, ม.4 = 1 ราย) และสถานการณ์การระบาดของโรคไอกรน อำเภอแม่ลาน ปี 2566-2567 พบผู้ป่วยเข้าข่ายสะสม 27 ราย เป็นพื้นที่ตำบลม่วงเตี้ย 11 ราย และตำบลป่าไร่ 16 ราย พบประวัติวัคซีน ได้รับครบร้อยละ 7.41 ได้รับไม่ครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 37.04 ไม่ได้รับเลย ร้อยละ 33.33 ไม่ทราบ ร้อยละ 22.22
ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมการรับวัคซีนพื้นฐานในกลุ่มอายุ 0-5 ปี เพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในชุมชนมากขึ้น เด็กมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคต่างๆที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ทางคณะกรรมการหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนใส่ใจ เด็กตำบลม่วงเตี้ย ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนาและ อสม.ตำบลม่วงเตี้ย มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0-5 ปี

 

2 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ของตำบลม่วงเตี้ย ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

 

3 เพื่อลดการป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในเด็กอายุ 0-5 ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
    1 อบรมให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0-5 ปี แก่ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม.และเครือข่ายชุมชนสุขภาพในชุมชน โดยวิทยากรที่ความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ตามหลักศาสนาอิสลาม
    2 ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านและอสม. เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าและรับทราบปัญหา การดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กอายุ 0-5 ปี (ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน)
    3 อสม.ติดตามเยี่ยมบ้าน ให้คำแนะนำ เด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด
    4 คณะกรรมการตำบลมหัศจรรย์ฯ ตำบลม่วงเตี้ย ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่ อสม.ติดตามให้คำแนะนำแล้วไม่มารับบริการวัคซีนตามนัด
    5 ออกหน่วยฉีดวัคซีนเชิงรุกในชุมชน แก่เด็กที่ไม่สะดวกในการรับบริการที่สถานบริการ เดือนละ 1 ครั้ง โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพเด็กและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองของเด็กก่อนการฉีดวัคซีน
    6 มอบของที่ระลึกแก่เด็กที่บ่ายเบี่ยงการฉีดวัคซีน และได้มารับการฉีดวัคซีนตามนัดอย่างต่อเนื่อง ตามข้อ ตกลงของกรรมการหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สามารถนำความรู้ไปแนะนำผู้ปกครองเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี ได้
  2. เด็กอายุ 0-5 ปี ของตำบลม่วงเตี้ย ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
  3. เด็กอายุ 0-5 ปี ของตำบลม่วงเตี้ย ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 13:48 น.