กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปี ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 68-L5226-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลระโนด
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 9,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจันจิรา โอ่มาก
พี่เลี้ยงโครงการ นางดุจดาว บุญสนิท
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.754,100.325place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2568 30 ก.ย. 2568 9,420.00
รวมงบประมาณ 9,420.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยที่กำลังพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิถีชีวิตมีแต่ความเร่งรีบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ทั้งเรื่องการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ การบริโภคที่อาศัยความรวดเร็ว ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในการบริโภค ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ร่วมกับการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งอาหารประเภทนี้ประกอบด้วยแป้ง ไขมันและน้ำตาลสูง และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้เด็กไทยมีการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย เกิดการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน คือ เด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕ พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะเตี้ย ร้อยละ ๑๖.๓, ๑๐.๕, ๑๐.๓, ๑๑.๗ และ ๙.๙ ตามลำดับ ภาวะผอม ร้อยละ ๖.๗, ๕.๓, ๔.๘, ๕.๗ และ ๔.๔ ตามลำดับ ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ ๑๑.๕, ๙.๑, ๘.๗, ๙.๕ และ ๗.๘ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยใจทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมโภชนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กด้วย ข้อมูลจากคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลระโนด งานโ๔๙๓๙ฯษฏษณฌโ้ก ๐-๕ ปี ตำบลระโนด ช่วงตุลาคม ๒๕๖๖-กันยายน ๒๕๖๗ พบว่าเด็ก ๐-๕ ปี ที่มีภาวะเตี้ยร้อยละ ๘.๙๖ ภาวะผอมร้อยละ ๙.๔๓ และภาวะอ้วนร้อยละ ๙.๔๓ และภาวะอ้วนร้อยละ ๘.๔๙ ชมรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคลินิคเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลระโนด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปี ขึ้น เพื่อให้เด็กมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการมีภาวะโภชนาการที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็ก ๐-๕ ปี ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านภาวะโภชนาการ

ผู้ปกครองของเด็ก ๐-๕ ปี ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถทำแบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพเรื่องโภชนาการ ได้มากกว่าร้อยละ ๘๐

2 เพื่อให้เด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

เด็ก ๐-๕ ปี ที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ ๑๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์คณะทำงาน/แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ/เขียนโครงการขอนุมัติ/ประชาสัมพันธ์โครงการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย(1 ก.ค. 2568-31 ก.ค. 2568) 0.00      
2 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยมีการอบรมความรู้เรื่องโภชนาการ(1 ส.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 8,250.00      
3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(1 ก.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) 350.00      
4 สรุปและประเมินผลโครงการ(1 ก.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) 820.00      
รวม 9,420.00
1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์คณะทำงาน/แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ/เขียนโครงการขอนุมัติ/ประชาสัมพันธ์โครงการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00 0.00
1 - 31 ก.ค. 68 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์คณะทำงาน/แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ/เขียนโครงการขอนุมัติ/ประชาสัมพันธ์โครงการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 - -
2 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยมีการอบรมความรู้เรื่องโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 8,250.00 0 0.00 8,250.00
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยมีการอบรมความรู้เรื่องโภชนาการ 0 8,250.00 - -
3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 350.00 0 0.00 350.00
1 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 350.00 - -
4 สรุปและประเมินผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 820.00 0 0.00 820.00
1 - 30 ก.ย. 68 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 820.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 9,420.00 0 0.00 9,420.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง ๒.เด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 14:27 น.