กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า สุรา และยาเสพติด ตำบลคลองขุด ปี 2568
รหัสโครงการ L5300-68-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 38,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบุปผา พนมคุณ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 109 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน12.4ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคน ประชาชนที่มีสุขภาพดีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพบุคคล และชุมชนจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ และสุขภาวะทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญาจึงบูรณาการอยู่ในการพัฒนามนุษย์และสังคมทั้งหมด ซึ่งต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันทั้งมวลเป็นองค์รวมอย่างสมดุล การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งภายในประเทศ ภายนอกประเทศ และระหว่างประเทศ รวมถึงมีลักษณะที่แปรผันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ การกระจายความรับผิดชอบในการพัฒนาสู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน จึงจำเป็นต้องเร่งรัดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีระบบ และมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชนชน โดยให้สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความจำเป็นที่แท้จริงของประชากรและชุมชนและคำนึงถึงปัจจัยดำรงความยั่งยืนของการพัฒนาและการพึ่งตนเองของบุคคลและชุมชนด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด(สาขา) ที่มีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในสังคม ในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีครบ 4 ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม และร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยมีพันธกิจในการจุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลังบุคคล และองค์กรทุกภาคส่วน ให้มีขีดความสามารถและสร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะบุคคลและชุมชนเพื่อลดผลกระทบและปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สำคัญจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน (ปฏิรูป) เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ และร่วมมือร่วมใจกันหลายภาคส่วน บนฐานทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม การเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน สอดคล้องกับหลักการเชิงวิชาการ และสอดคล้องกับกลไกการพัฒนาที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน เกิดการบูรณาการเป้าหมาย ทิศทางและยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นเจ้าของและภาวะการนำร่วมกัน โดยบูรณาการและประสานความร่วมมือ นำไปสู่การสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืน
การพัฒนาชุมชนสุขภาวะและโรงเรียนสุขภาวะ ในประเด็นโรคไม่ติดต่อ บุหรี่ สุรา ยาเสพติด พฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกาย โดยดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล คือ การทำงานใช้กลไกการมีส่วนร่วมของ พชอ. เป็นแนวทางที่นำไปสู่การบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานในระบบ รวมถึงการประสานงานในส่วนของภาคีเครือข่ายที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองขุด เพื่อประสานความร่วมมือในการออกแบบ การดำเนินกิจกรรม และการระดมทรัพยากรการดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดย “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด ตำบลคลองขุด  ปี2568” เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จของโครงการข้างต้นที่มีบทบาทในการช่วยป้องกันและส่งเสริมสุขภาวะในตำบลคลองขุดในประเด็น บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด(สาขา) อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงโทษพิษภัย รวมถึงการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า สุรา และยาเสพติด และช่วยกันสร้างกระแสสังคมให้เกิดการรับรู้ เกิดความตื่นตัว และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชน และโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 452 38,160.00 0 0.00 38,160.00
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 139 4,170.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ 174 29,820.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 สรุปผลการดำเนินงาน 139 4,170.00 - -
รวมทั้งสิ้น 452 38,160.00 0 0.00 38,160.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1.ประชาชนทั่วไป เยาวชนและเด็กวัยเรียนกลุ่มเสี่ยง ตำบลคลองขุด มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงโทษพิษภัยและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ สุราและยาเสพติด พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการเลิกบุหรี่ และความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า สุรา และยาเสพติด และช่วยกันสร้างกระแสสังคมให้เกิดการรับรู้ เกิดความตื่นตัว สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชน
2.ประชาชนทั่วไป เยาวชนและเด็กวัยเรียนกลุ่มเสี่ยง ตำบลคลองขุด มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นในประเด็น บุหรี่ สุรา และยาเสพติด และเพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนและภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง ผลลัพธ์ ประชาชนทั่วไป เยาวชนและเด็กวัยเรียนกลุ่มเสี่ยง  ตำบลคลองขุด มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงโทษพิษภัย รวมถึงการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า สุรา และยาเสพติด และช่วยกันสร้างกระแสสังคมให้เกิดการรับรู้ เกิดความตื่นตัว และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชน และโรงเรียน เกิดบุคคลต้นแบบในการลด ละเลิก บุหรี่ สุราและยาเสพติด เพิ่มขึ้นในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 15:26 น.