กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนปลอดขยะสู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5290-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 3
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มิถุนายน 2568 - 30 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 12,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิรานิจ หลังแดง
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 3 เป็นโรงเรียนหนึ่งที่มีปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาหลัก ๆ ก็คือ ปัญหาขยะ เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาด้านกลิ่น ปัญหาด้านการจัดการขยะที่มีคุณภาพ และอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนได้ ทางโรงเรียนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะมาโดยตลอด และเป็นโอกาสดีที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีโครงการรณรงค์คัดแยกขยะมูลฝอยในสถานศึกษา ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไว้เป็นวาระแห่งชาติ โดยการสร้างจิตสำนึก และวินัยในการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่นักเรียนและเยาวชน โดยให้โรงเรียนมีการปฏิบัติเป็นรูปธรรม
ดังนั้นเพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ทางโรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 3 จึงได้ดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบผ่านนโยบายของสถานศึกษาโดยกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาไว้ว่า “โรงเรียนน่าอยู่ ครูดี นักเรียนมีคุณภาพ ชุมชนร่วมใจ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน” ซึ่งมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานที่สำคัญ คือ “Clean School” (โรงเรียนสะอาด ภูมิทัศน์ดี มีความปลอดภัย) และขับเคลื่อนสู่กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของการทิ้งขยะ มีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดภายในโรงเรียน บ้าน และชุมชน รวมถึงการนำความรู้และกระบวนการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางไปจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตนเอง และร่วมมือกับผู้ปกครองจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ นักเรียนและชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ร้อยละของนักเรียน คณะครูและผู้ปกครอง ตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

2 เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน มีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดภายในโรงเรียน บ้านและชุมชน

ร้อยละของนักเรียน คณะครูและผู้ปกครอง มีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดภายในโรงเรียน บ้านและชุมชน

3 เพื่อให้นักเรียน และผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะและโทษของการทิ้งขยะไม่ถูกที่

ร้อยละของนักเรียน คณะครูและผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะและโทษของการทิ้งขยะไม่ถูกที่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นวางแผน -วิเคราะห์สภาพปัญหา -เสนอโครงการ -แต่งตั้งคณะทำงาน 2.ขั้นดำเนินงาน
- จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม - จัดกิจกรรมตามที่วางไว้   - กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
- กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการประดิษฐ์ถังขยะจากวัสดุเหลือใช้ - กิจกรรมปุ๋ยหมักแห้ง - กิจกรรมขยะในบ้านเป็นปุ๋ย (ทำเหวียนปุ๋ยหมัก) 3. ขั้นตรวจสอบประเมินผล - ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในโครงการ - ประเมินระดับความพึงพอใจของบุคลากร ที่มีต่อโครงการ - สรุปผลการประเมินการดำเนินกิจกรรมตาม โครงการ 4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข - รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อ ผู้บริหารสถานศึกษา - เผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการต่อสาธารณชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน   2. โรงเรียนเป็นต้นแบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธีแก่บ้าน ชุมชนใกล้เคียง   3. นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้แทนชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของการทิ้งขยะไม่ถูกที่
      4. นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้แทนชุมชน ตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า   5. นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้แทนชุมชน มีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดภายในโรงเรียน บ้าน และชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2568 09:34 น.