กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชนบ้านเหนือโดยเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
รหัสโครงการ L5300-68-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพวรรณ ซ่อนศรี
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมีมาตรการภาครัฐสำหรับควบคุมคุณภาพตามมาตรฐาน แต่ก็มีรายงานการตรวจพบสารอันตรายห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ มาโดยตลอด ได้แก่ การพบสารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา และบอแรกซ์ในอาหาร รวมถึงการจำหน่ายสินค้าที่ไม่มีฉลากหรือฉลากไม่ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยจากการสำรวจร้านค้าในชุมชนบ้านเหนือ พบว่า มีร้านชำ จำนวน 10 ร้าน แผงลอยและร้านจำหน่ายอาหาร จำนวน 10 ร้าน โดยร้านค้าดังกล่าวมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารที่หลากหลาย สินค้าบางรายการไม่มีฉลาก และบางรายการฉลากไม่ครบถ้วน ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคมีลักษณะการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ การบริโภคอาหารก็ตกอยู่ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สามารถตรวจสอบหรือเลือกซื้ออาหารได้อย่างพิถีพิถันเท่าที่ควร จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้บริโภคอาหารจากการจำหน่ายอาหารที่ไม่มีคุณภาพได้ ดังนั้น ผู้จำหน่ายอาหารและผุ้บริโภคจึงต้องมีความรู้ในการเลือกซื้ออาหาร และการพิจารณาคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร เพื่อสุขภาพอนามัยของตนเองและบุคคลในครอบครัว
เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลคลองขุด จึงมีความตระหนักถึงปัญหาการบริโภคที่อาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพจากการประกอบการค้าในพื้นที่ชุมชน โดยจะดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของชุมชน เป็นระบบเครือข่ายและคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประเภทอาหารอาจที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ทำให้ชุมชนปลอดภัยจากการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนหรือไม่ได้มาตรฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 10,000.00 0 0.00 10,000.00
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยไร้สารตกค้าง 35 7,885.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 รณรงค์สร้างการรับรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร 15 2,115.00 - -
รวมทั้งสิ้น 50 10,000.00 0 0.00 10,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ผู้ประกอบการร้านอาหารมีความรู้ด้านอาหารปลอดภัย สามารถเลือกซื้อสินค้า วัตถุดิบ และเครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหารที่มีคุณภาพและไร้สารเคมีปนเปื้อนมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค 2. ร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ประเมินติดตาม ผลลัพธ์ ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหคารที่มีคุณภาพและไร้สารตกค้างจากร้านค้าในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2568 10:20 น.