กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพเชิงรุก เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน ต.ไทรทอง ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3024-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลไทรทอง
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 31 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 22,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพันธ์ พรหมเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 ที่มา : ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง (HT) และโรคเบาหวาน(DM) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร ซึ่งการเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยง ที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม(DR) โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรังที่นำไปสู่การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น และปัจจุบันนี้แนวโน้มการพบภาวะแทรกดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรัง ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการดูแลในระยะยาวต่อไป 1.2 สภาพปัญหา : จากข้อมูลระบบรายงาน HDC อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ผลการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ปี 2565 – 2567 พบว่าเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ78.54 ,66.87 และ64.47 ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 20.61, 26.97และ 33.70ตามลำดับ และกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 0.65, 3.82และ1.82 ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ปี 2565 - 2567 พบว่าเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ41.62,49.74 และ58.36 ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 29.73, 23.49 และ24.62 ตามลำดับ และกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 26.33, 24.28 และ15.88 ตามลำดับ มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ตั้งแต่ปี
2565 – 2567 จำนวน 20 คน ,66 คน และ 47 คน ตามลำดับ และมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่
ตั้งแต่ปี 2565 – 2567 จำนวน 41 คน, 69 คนและ106คน ตามลำดับ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อในพื้นที่ตำบลไทรทอง มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตามมาเช่นกัน
1.3 ความเร่งด่วน / ผลที่คาดหวัง : กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี มีความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำ “โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพเชิงรุก เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน ต.ไทรทอง ปีงบประมาณ 2568 “ ขึ้นเพื่อการค้นหา ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป และตรวจสุขภาพในกลุ่มป่วยตามมาตรฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป         4.1 ขั้นตอนการเตรียมการ         - ประชุมชี้แจง “โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพเชิงรุก เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน ต.ไทรทอง ปีงบประมาณ 2568 “ แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง         4.2 ขั้นตอนการดำเนินการ         - สำรวจกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป         - แจ้งแผนการปฏิบัติงาน กับชุมชน และ อาสาสมัครสาธารณสุข ทราบ         - ประสาน อาสาสมัครสาธารณสุข เตรียมกลุ่มเป้าหมาย         - อาสาสมัครสาธารณสุขประชาสัมพันธ์คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในประชาชน         อายุ 35 ปี ขึ้นไป โดยงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชม.         - เจาะเลือดปลายนิ้ว/วัดความดันโลหิตสูง         4.3 ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปสามามรถรับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง 2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและกลับมาอยู่ในกลุ่มปกติ 3 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามและได้รับการส่งต่อวินิจฉัยของโรคได้อย่างรวด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2568 16:27 น.