โครงการเฝ้าระวังป้องกันภาวะโลหิตจาง ในเด็กอายุ 6-12 เดือน, เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี,หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังป้องกันภาวะโลหิตจาง ในเด็กอายุ 6-12 เดือน, เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี,หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ |
รหัสโครงการ | 68-L1544-01-003 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากปรน |
วันที่อนุมัติ | 17 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | จ่าเอกธวัชชัย เพทาย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.256,99.552place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 9 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 230 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 854 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน - 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พยงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร หญิงวัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทยมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 หรือ ประมาณ 1 ใน 4 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ จากการทบทวนการศึกษาวิจัยพบว่า ภาวะ โลหิตจางมีผลต่อสุขภาพและมีผลต่อการทำงาน เช่น อาการเวียนศีรษะเมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ซึ่งมีทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อน กำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ทั้งนี้จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายของมารดาทั่วโลกมากที่สุด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง มีนโยบาย ลดแม่ตาย โดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด โดยจากสถานการณ์ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์และอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ ปีงบประมาณ ๒๕๖8 ไตรมาสที่ 1 – 3 ของจังหวัดตรัง คิดเป็นร้อยละ 30.88 ในส่วนของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง คิดเป็นร้อยละ 29.41 โดยมีเกณฑ์เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๔ ซึ่งพบว่ามีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด จึงถือเป็นปัญหาที่สำคัญในหญิงตั้งครรภ์ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก การตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ได้ ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะโลหิตจางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากปรน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันภาวะโลหิตจาง ในเด็กอายุ 6 – 12 เดือน, เด็กวัยเรียนอายุ 6 – 12 ปี, หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ปี 2568 ขึ้น เพื่อลดและป้องกันภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางในทุกช่วงกลุ่มอายุ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค และการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.แกนนำด้านสุขภาพ อสม. หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ ตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางในทุกช่วงวัย
2.แกนนำด้านสุขภาพ และอสม. สามารถดูแลและให้คำแนะนำแก่กลุ่มเสี่ยงในการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางได้อย่างถูกต้อง
3.เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านปากปรน มีภาวะโลหิตจางลดลง
4.. เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้รับการควบคุมและป้องกันแก้ไข ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ภาวะตกเลือดหลังคลอด และภาวะคลอดก่อนกำหนด (ในหญิงตั้งครรภ์)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2568 15:28 น.