ชุมชนปลอดภัยห่างไกลไข้เลือดออก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | ชุมชนปลอดภัยห่างไกลไข้เลือดออก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3348-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 91,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายธาริน สุรีย์เหลืองขจร |
พี่เลี้ยงโครงการ | สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลานข่อย |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.831,99.78place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อทั่วไป มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับ ความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2567 ในเขตพื้นที่อำเภอป่าพะยอมพบผู้ป่วย จำนวน 159 คน ตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ตำบลเกาะเต่า 65 คน ตำบลบ้านพร้าว 61 คน ตำบลลานข่อย 17 คน และตำบลป่าพะยอม 16 คน ตามลำดับ ซึ่ง รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล มีผู้ป่วย 10 ราย มีอาการวิกฤตต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2 ราย และจากการสำรวจเชิงรุกทุกวันศุกร์ พบค่าดัชนีลูกกน้ำยุงลาย HI = 22.60 ค่า CI = 12.50 (ค่าปกติ HI ไม่เกิน 10 CI = 0)จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุ 1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง |
||
2 | 2.ไม่พบอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออก 2.อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์ |
||
3 | 3.เพื่อสร้างความตระหนักและความร่วมมือของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก 3.จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10) 4.ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ค่า CI=0) |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาด(1 ก.พ. 2568-30 ก.ย. 2568) | 0.00 | ||||||||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาด | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง .ไม่มีอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน 3.มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 09:57 น.