กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารีย์ เกื้อคลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.389,100.067place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปล ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 อัตราป่วยต่อแสนประชากรจังหวัดพัทลุง โรคความดันโลหิตสูง 1,878.33 โรคเบาหวาน 1,044.46 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปี 2560 พบโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ 8,161.04 โรคเบาหวาน 4,207.47 สถิติคัดกรองเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูในพื้นที่มีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพพบว่าโรคเหล่านี้เกิดจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ค่านิยมการกินแบบตะวันตก การบริโภคอาหาร มัน เค็ม จัด หวานจัด ทั้งรับประทานผัก ผลไม้ไม่เพียงพอ ความเครียด การสุูบบุหรี่ ดื่มสุรา ล้วนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตายและพิการ มีการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเศรษฐกิจ สามารถป้องกันได้ด้วยบุคคลและชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนและภาคีเครือข่าย อสม.ให้เกิดความตระหนัก มีการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านท่าควาย จึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในหมู่บ้านเป้าหมาย คือ หมู่ที่ 5,6,12, และ 14 ต.โคกม่วง เพื่อผลักดันให้ชุมชนดำเนินงานร่วมกันคิด ร่วมกันทำ อย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพปัญหาและวิถีชุมชน มุ่งหวังให้สภาพปัญหา ลดปัจจัยเส่ี่ยงและอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีสุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ่ควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด

อัตรากลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

อัตรากลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ ร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 4 20,000.00
26 ม.ค. 61 ค่าจัดซื้อเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 4 เครื่องๆละ 2100 บาท 0 8,800.00 8,800.00
5 - 26 เม.ย. 61 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท 0 8,000.00 8,000.00
5 - 26 เม.ย. 61 ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกสุขภาพ จำนวน 1600 แผ่นๆละ0.5 บาท ปากกา 80ด้ามๆละ 5 บาท 0 800.00 800.00
7 - 29 มิ.ย. 61 ค่าจัดทำโพสเตอร์สื่อการสอน จำนวน 60 แผ่นๆละ 30 บาท 0 2,400.00 2,400.00

1.ขั้นเตรียมการ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เขียนเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกม่วง ประชุม อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินตามโครงการ 2.ขั้นดำเนินการ จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ย จำนวน 80 คน จัดตั้งคลินิกไร้พุง ที่รพ.สต.ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุง ลดพฤติกรรมเสี่ยโรคเรื้อรัง ติดตามประเมินการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด หลังอบรม 4 เดือน 1 ครั้ง
3.ขั้นสรุปผลโครงการ สรุปผลการประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย รายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเส่ี่ยงสามารถปฏิบัติตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้ร้อยละ 50 2.จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โรคเบาหวานลดลง ร้อยละ 50 และความดันโลหิตสูงลดลง ร้อยละ 2.50

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 15:52 น.