กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยสุขใจ กายแข็งแรง
รหัสโครงการ 68-L3348-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลลานข่อย
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชม บุญชูดำ
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักงานเเลขานุการกองทุนหลักประกันสสุาพเททศบาลตำบลลานข่่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลลานข่อย มีเขตความรับผิดชอบจำนวนหมู่บ้าน ๙ หมู่บ้าน มีประชากร ทั้งสิ้น ๘,๖69 คน มีผู้สูงอายุ จำนวน ๑,๒88 คน คิดเป็นร้อยละ 14.86 ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี กล่าวตามนิยมของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้น ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรือในปีหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลลานข่อย ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุก ๆ ด้าน ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยสุขใจ กายแข็งแรง โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทราบถึงการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมในวัยสูงอายุ การปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ร่างกาย ในวัยสูงอายุ

ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน มีความรู้ มีทักษะในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ร่างกาย ในวัยสูงอายุ

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจในหลักโภชนาการที่ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและการจัดการอารมณ์ในวัยสูงอายุ

ผู้สูงอาย จำนวน 50 คน มีความเข้าใจที่ดีต่อโภชนาการและคุณลักษณะของโภชนาการที่ดี รู้ว่าอาหารที่ควรบริโภคบ่อย ๆ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง รู้ว่าควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง และสามารถบอกวิธีการจัดการอารมณ์ในวัยสูงอายุผู้สูงอาย จำนวน 50 คน มีความเข้าใจที่ดีต่อโภชนาการและคุณลักษณะของโภชนาการที่ดี รู้ว่าอาหารที่ควรบริโภคบ่อย ๆ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง รู้ว่าควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง และสามารถบอกวิธีการจัดการอารมณ์ในวัยสูงอายุ

3 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชาสัมพันธ์และชักชวนให้ผู้สูงอายุคนอื่น ๆเข้าร่วมกิจกรรม หลีกเลี่ยงการเป็นผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ติดบ้าน

ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรม สามารถโน้มน้าวใจ ชักชวนให้ผู้สูงอายุคนอื่นมาเข้าร่วมกิจกรรมในรุ่นหรือปีถัดไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 68
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 ก.ค. 2568-31 ก.ค. 2568) 0.00  
รวม 0.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ และปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย”
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี มองเห็นคุณค่าในตนเองมีสุขภาพจิตที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 11:34 น.