โครงการเยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจใส่ใจผู้ป่วยวัณโรค ตำบลเขาย่า
ชื่อโครงการ | โครงการเยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจใส่ใจผู้ป่วยวัณโรค ตำบลเขาย่า |
รหัสโครงการ | 68-L3367-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลศรีบรรพต ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 22 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 11,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 6 , 7 และ 9 ตำบลเขาย่า |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 22 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 9 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ผู้ป่วยเป็นวัณโรคในเขตตำบลเขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 จนถึงปัจจุบัน ทั้งรายเก่าและรายใหม่ มีจำนวน 22 ราย | 22.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัณโรคเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีวัณโรคสูง รายงานองค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2020 พบว่าอุบัติการณ์วัณโรคของประเทศไทยคิดเป็นอัตรา 150 ต่อแสนประชาการอัตราการครอบคลุมการรักษาวัณโรค (Treatment coverage) ร้อยละ 84 ข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคในโปรแกรมบริหารงานคลินิกวัณโรค (National Tuberculosis Information Program : NTIP) ในพื้นที่อำเภอศรีบรรพตเมื่อปีงบประมาณ 2559 – จนถึงปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษา มีจำนวน 24 รายผู้เสียชีวิต 2 ราย รักษาหาย 20 ราย กำลังรักษา 2 ราย การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคทั้งรายเก่าและรายใหม่เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับประทานยาต่อเนื่อง ประเมินผลข้างเคียงจากยา ลดการเสียชีวิตระหว่างรักษาวัณโรค และติดตามประเมินสุขภาพของผู้ป่วยรายเก่าเพราะวัณโรคสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ถ้าสุขภาพอ่อนแอหรือได้รับเชื้อเพิ่มมาอีก ตลอดจนสามารถค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษา ควบคุมการแพร่ระยะยาว โรงพยาบาลศรีบรรพตจึงได้จัดทำโครงการ เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ ใส่ใจผู้ป่วยวัณโรค ตำบลเขาย่า โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการติดตามการรักษาวัณโรคด้วยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคและครอบครัว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำและนำญาติผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการคัดกรองวัณโรค ดังนั้น โรงพยาบาลศรีบรรพต อำเภอศรีบรรพต จึงได้จัดโครงการ เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจใส่ใจผู้ป่วยวัณโรค ตำบลเขาย่า ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยวัณโรค อย่างน้อยร้อยละ 80 |
60.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดูแลแบบองค์รวมกินยาต่อเนื่อง รักษาสำเร็จ อัตราความสําเร็จของการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ ร้อยละ 100 |
90.00 | 100.00 |
3 | เพื่อคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิด เข้าสู่ระบบการรักษา ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดได้รับการคัดกรอง อย่างน้อย 5 คน |
3.00 | 5.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
15 ก.ค. 68 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคแก่ อสม .ที่เข้าร่วมโครงการ | 0 | 5,080.00 | - | ||
6 - 7 ส.ค. 68 | กิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรค ตำบลเขาย่า | 0 | 5,920.00 | - | ||
รวม | 0 | 11,000.00 | 0 | 0.00 |
1.ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการติดตามดูแลรักษาจากเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด 2.ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการทำให้มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น 3.ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดได้รับการคัดกรองมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2568 09:12 น.