โครงการส่งเสริมพัฒนาการผ่านกิจกรรมและการเสริมโปรตีนในเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรัง
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมพัฒนาการผ่านกิจกรรมและการเสริมโปรตีนในเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรัง |
รหัสโครงการ | 68-L3002-03-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรัง |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 เมษายน 2568 - 23 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 14 กรกฎาคม 2568 |
งบประมาณ | 5,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวโยหะนะ ตาเยะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.693,101.375place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 เม.ย. 2568 | 23 มิ.ย. 2568 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 5,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด 2-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังตม และสติปัญญาเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม แลพะสติปัญยาล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส ได้พัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และตวามเชื่อมั่นในตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เล่น ฟังนิทาน ร้องเพลง เป็นต้น ประสบการณ์สำคัญที่ควรส่งเสริมประกอบด้วย การรับรู้อารมณ์หรือความรู้สึกของตนเอง การแสดงอารมณ์ที่เป็นสุข การควบคุมอารมณ์และการแสดงออกการกอดจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เด็กรู้สึกเป็นที่รัก อบอุ่น มั่นคง เกิดความรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น นอกจากการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัยนี้แล้ว อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะช่วงวัยเรียน เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กวัยเรียนจึงเป็นวัยที่กำลัง เจริญเติบโตที่มีความต้องการสารสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบานพร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญมาก จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมาย เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อสุขภาพกาย สุภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้า และมักจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้นอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับแต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในปัจจุบัน การใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงานออกไปกรีดยางตั้งแต่ตอนกลางคืน บางครอบครัวพ่อแม่รับจ้างจึงต้องไปทำงานตั้งแต่เช้า เด็กๆ จึงรับประทานมื้อเช้าเป็นขนม และอาหารที่ไม่มีประโยชน์จากร้านในหมู้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก วัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรัง จึงเห็นความสำคัญในเรื่องส่งเสริมพัฒนาการของเด็กผ่านกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า เฝ้าดูฟัน รวมถึงการส่งเสริมให้เด็กมีโภชนาการที่ดี โดยเฉพาะในมื้อเช้าที่เน้นโปรตีนให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรัง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการผ่านกิจกรรมและการเสริมโปรตีนในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรัง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรัง ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่ที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ 1.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100 |
||
2 | 2.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน 2.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 80 |
||
3 | 3.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน มีพัฒนาการสมวัย 3.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80 |
||
4 | 4. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน ได้รับประทานอาหารอย่างถูกต้อง 4.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 90 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100
2.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 80
3.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80
4.นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านตรังที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 10 คน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2568 09:59 น.