โครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม |
รหัสโครงการ | 68-L4131-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 20 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 เมษายน 2568 |
งบประมาณ | 12,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปาตีเม๊าะ อารี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวบุสริน ดือเระ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.963,101.398place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในการดำเนินงานสาธารณสุขของประเทศไทย พบว่า โรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุที่มีการเจ็บป่วย และตาย เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของสตรีในประเทศไทย โดยแต่ละปีมีประมาณการผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ จำนวน 528,000 ราย และมากกว่า 566,000 ราย เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่อายุประมาณ 30-50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากตรวจทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92% ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่ายสะดวก ราคาถูก แต่ยังพบสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ ทำให้การตรวจทำได้จำกัด ไม่ครอบคลุม ส่วนโรคมะเร็งเต้านมผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจุจบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้าหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆแล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงกำหนดให้สถานบริการมีความพร้อมในการให้บริการอย่างบูรณาการของ การส่งเสริมป้องกันและรักษาโรคมะเร็งเต้านมร้อยละ 70 และลดอัตราการตายจากโรคมะร็งเต้านมไม่เกิน 40 ต่อแสนประชากร และแผนยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ปี 2555 ได้กำหนดให้อันตรายจากมะเร็งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังใหม่ มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในปีงบประมาณ 2564 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็นร้อยละ 11.60 ดังนั้น การดำเนินการที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยการให้ความรู้การสร้างความตระหนักตลอดจนกระต้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ในประชากรกลุ่มเสี่ยงและประชากรทั่วไปอย่างต่อเนื่องจนนำไปสู่การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เพื่อลดอัตราป่วย และตายด้วยโรคมะเร็งดังกล่าว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังใหม่ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ในประชากร อายุ 30 -70 ปีเพื่อป้องกัน ฝ้าระวัง และลดอัตราป่วยตาย ด้วยโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชากร อายุ 30-70 ปี มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม ประชากรสตรีกลุ่มเป้าหมาอัตราการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ในสตรีอายุ 30-70 ปี ร้อยละ 85 ประชากรสตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี สะสม 2 ปี ร้อยละ 20 |
85.00 | |
2 | เพื่อให้ประชากร อายุ 30-70 ปี สามารถคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง ประชากร อายุ 30-70 ปี สามารถตรวจคัดกรองเต้านมได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 85 |
85.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 60 | 12,900.00 | 0 | 0.00 | 12,900.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ | 60 | 12,900.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 60 | 12,900.00 | 0 | 0.00 | 12,900.00 |
1.ประชากร อายุ 30-70 ปี มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคมะเร็งเต้านม
2. ประชากร อายุ 30-60 ปี มีพฤติกรรม การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกต้อง
3. ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่หรือจำนวนผู้ปวยลดลงจากปีที่ผ่านมา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2568 10:06 น.