โครงการรู้ทันโรค NCD ชีวิตเปลี่ยน
ชื่อโครงการ | โครงการรู้ทันโรค NCD ชีวิตเปลี่ยน |
รหัสโครงการ | 68-L4131-07-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 19 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปาตีเม๊าะ อารี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวบุสริน ดือเระ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.963,101.398place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ) เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนิน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคถุงลมโปร่งพอง และโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลก จาการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ( WHO )พบประชาการทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชาการโลก ) ปี พ. ศ. 2557- 2561 พบอัตราเสียชีวิตอย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปี พ. ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมา คือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 : กองโรคไม่ติดต่อ กรมครบคุมโรค ) ในปี 2566 จังหวัดยะลา พบประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน 15,923 คน และอำเภอเบตง พบประชาชนกลุ่มเสี่ยงจาการคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 610 คนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 449 คน กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 330 คน นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้ว การมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ทั้งด้านอาหาร โดยการรับประทานอาหารเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรีเป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโรคดังกล่าว หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะสามารถดุแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดโอกาศการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเบตง ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพและให้บริการ รักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ. เพื่อประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการชีวิตดีวิถีใหม่ ห่างไกลโรคNCDs สำหรับประชาชนในเขตตำบลอัยเยอร์เวง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ได้ดำเนินตามนโยบายสาธารณสุข จัดให้มีดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ในปี 2567 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 350 รายมีภาวะโรคแทรกซ้อน 55 รายโรคเบาหวาน 90 ราย มีภาวะแทรกซ้อน 10 ราย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 226 ราย มีภาวะแทรกซ้อน 20 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 191 รายควบคุมโรคได้ 120 คน คิดเป็นร้อยละ 62.82 โรคเบาหวานจำนวน 56 ราย ควบคุมน้ำตาลได้ 25 ราย คิดเป็นร้อยละ41.07จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ เป็นแบบองค์รวม และเกิดการบูรณการให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ สามารถควบคุมภาวะอาการของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ | 60 | 12,900.00 | - | ||
รวม | 60 | 12,900.00 | 0 | 0.00 |
- จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 60
- ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ทุกคนได้รับการเยี่ยมบ้าน
- จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2568 10:26 น.