กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 11 เดือน ถึง 3 ปี
รหัสโครงการ 68-L3002-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2568 - 30 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2568
งบประมาณ 19,987.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะอำรา สือรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.693,101.375place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 เม.ย. 2568 30 พ.ค. 2568 19,987.00
รวมงบประมาณ 19,987.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 11 เดือนถึง 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตของการวางรากฐานสุขภาพและพัฒนาการ หากเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและเหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ทั้งขาดสารอาหารและได้รับสารอาหารเกิน นำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น ภาวะแคระแกร็น พัฒนาการล้าช้า สติปัญญาบกพร่อง ภูมิต้านทานต่ำ มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยบ่อยและเสียชีวิต รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคำม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จากการสำรวจโภชนาการของเด็กปฐมวัยในตำบลตรัง พบว่ามีเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม) ในสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ สาเหตุหลักเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่นความยากจน การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม นิสัยการกินที่ไม่ดี และการขาดกาเฝ้ระวังโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากไม่ได้รับการเลี้ยงดูแก้ไขที่เหมาะสม เด็กกลุ่มนี้จะยิ่งมีแนวโน้มภาวะทุพโภชนาการที่รุนแรงมากขึ้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ พัฒนาการ และคุณภาพชีวิตในระยะยาว เป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 11 เดือน 3 ปี อย่างเป็นรูปธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรังจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มดังกล่าวทั้งหมด 23 คน ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดความสูง ประเมินสัดส่วนร่างกาย และซักประวัติโภชนาการ เพื่อค้นหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและให้การดูแลแก้ไขอย่างทันท่วงที ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการที่ดี ทั้งการให้ความรู้กับผู้ปกครองเรื่องอาหารและโภชนาการเหมาะสมสำหรับเด็ก การสาธิตการประกอบอาหาร การแจกอาหารดสริมและนมผง รวมถึงการเชื่อมโยงเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาของสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ โครงการนี้ยังตอบสนองต่อแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสุขภาพในช่วงปฐมวัย และยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี ในประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต โดยเฉพาะการพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงครรภ์จนถึง 5 ปี คาดหว้งว่าโครงการนี้จะช่วยให้เด็กปฐมวัยในตำบลตรังมีโอาสพัฒนาศักยภาพเต็มตามวัย ปลอดภัยจากภาวะทุพโภชนาการ และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 11 เดือน ถึง 3 ปี

ภาวะโภชนาการเด็ก 11 เดือน ถึง 3 ปี จำนวน 95 คน ร้อยละ 80

2 เพื่อให้เด็กเล็กและเด็ก 11 เดือน ถึง 3 ปี ที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

เด็กเล็กและเด็กทีมีภาวะโภชนาการเกินที่ได้รับการดูแลแก้ไข ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2568 10:39 น.