โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4128-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลา |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 เมษายน 2568 |
งบประมาณ | 12,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุวารี พิริยะนันทกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.853,101.099place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 65 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และมีอัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากตามผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อที่เพิ่มขึ้น เช่น โรคไตวาย อัมพาต ผู้ป่วยโรคเบาหวานถูกตัดขา หรือจอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากไม่สามารถควบคุมโรคได้ จากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น ไม่รับประทานยา รับประทานยาไม่สมำเสมอ ใช้การแพทย์ทางเลือก เรื่องการบริโภคอาหารหวาน มันเค็ม ขาดการออกกำลังกาย อารมณ์เครียด การดื่มสุรา และ สูบบุหรี่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของคนในสังคม มีความเครียด จากการทำงาน โอกาสในการออกกำลังกายมีน้อย บริโภคอาหารที่คำนึงถึงความสะดวกรวดเร็ว ต้องพึ่งพาบุหรี่ และแอลกอฮอล์ การเข้าถึงอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อ ในปัจจุบันประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างกว้างขวาง แต่ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกัน และลดความเสี่ยงเหล่านี้ยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในปีงบประมาณ 2567 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 10 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 5 ราย และ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานถูกตัดขา 2 ราย ผู้ป่วยอัมพาตรายใหม่ 5 ราย โรคหัวใจขาดเลือด 1 ราย จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นำมาซึ่งการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการสูญเสียตามมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงประเมินภาวะแทรกซ้อนตนเองในเบื้องต้นได้ |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ผู้ป่วนโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงมีทัศนคติ และความรู้ที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนประจำปี ๓. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในแบบต่างๆที่เลือกสรร และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2568 14:30 น.