โครงการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L7250-2-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนภราดร ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 41,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุพจน์ เรืองน้อย ตำแหน่ง ประธานอสม.ชุมชนภราดร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.201396,100.594801place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 250 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก ทั้งนี้ ในแต่ละปีพบว่ามีการกระจายของเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนกัน และมีเชื้อที่เด่นแตกต่างกันไปในแต่ละปี ทำให้มีการระบาดของโรคมาโดยตลอด เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประเทศไทย ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 18 กันยายน 2567 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 79,689 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 2,704 ราย) อัตราป่วย 120.15 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่า ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 4.04 เท่า และน้อยกว่า ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ปี พ.ศ. 2562–2566) 1.51 เท่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสม 5 อันดับแรกคือจังหวัดเชียงราย, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน ตามลำดับ อัตราป่วยสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 5 -14 ปีอายุ 15 -24 ปี และอายุ 0 - 4 ปี ตามลำดับ ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน จำนวน 63 รายอัตราป่วยตายร้อยละ 0.08 ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตอายุอยู่ระหว่าง > 65 ปีขึ้นไป สถานการณ์โรคไข้เลือดออก วันที่ 1 มกราคม-14 สิงหาคม 2567 (ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง Digital 506 กรมควบคุมโรค) ประเทศไทยพบผู้ป่วย 63,350 ราย เสียชีวิต 47 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วย 7,124 ราย เสียชีวิต 5 ราย (จังหวัดสงขลา 2 ราย, ยะลา 1 ราย, ปัตตานี 1 ราย และพัทลุง 1 ราย) จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือจังหวัดสงขลา 2,623 ราย รองลงมาคือ ปัตตานี 1,090 ราย, พัทลุง 1,030 ราย, ยะลา 816 ราย, นราธิวาส 792 ราย, ตรัง 639 ราย และสตูล 134 ราย จากข้อมูลการควบคุมโรค ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข พบว่า ปี 2566 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 73 ราย และในปี 2567 จำนวน 22 ราย มีผู้ป่วยกระจายอยู่ทั้ง 7 ชุมชนในเขตรับผิดชอบ ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการ “ป้องกันไม่ให้ยุงเกิด ไม่ให้ยุงกัด” ทางชุมชนภราดรจึงจัดโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน 1.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 10 |
100.00 | |
2 | 2.เพื่อให้ค่าดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลายที่บ้านและชุมชนลดลง 2.ค่า HI ≤ ๑๐ (น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10) |
100.00 | |
3 | 3.เพื่อให้อสม.มีความรู้เรื่องการวงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.อสม.ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการวงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก |
80.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมที่ 1 กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคต่าง ๆที่บ้านและชุมชน (Big Cleaning Day)(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 25,650.00 | |||||||
2 | กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดฐานการเรียนรู้ฟื้นฟูความรู้วงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 13,100.00 | |||||||
3 | กิจกรรมที่ 3 สำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ประเมินไขว้ชุมชน) โดยอสม.แกนนำและจนท.ที่เกี่ยวข้อง(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 2,750.00 | |||||||
รวม | 41,500.00 |
1 กิจกรรมที่ 1 กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคต่าง ๆที่บ้านและชุมชน (Big Cleaning Day) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 25,650.00 | 0 | 0.00 | 25,650.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1.1 สร้างกระแสความรอบรู้เรื่องไข้เลือดออก วันอาเซียนเดงกีเดย์ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2568 | 0 | 18,300.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1.2 รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคที่บ้านและชุมชน | 0 | 7,350.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดฐานการเรียนรู้ฟื้นฟูความรู้วงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 13,100.00 | 0 | 0.00 | 13,100.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการจัดฐานการเรียนรู้ฟื้นฟูความรู้วงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 13,100.00 | - | - | ||
3 กิจกรรมที่ 3 สำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ประเมินไขว้ชุมชน) โดยอสม.แกนนำและจนท.ที่เกี่ยวข้อง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 2,750.00 | 0 | 0.00 | 2,750.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ประเมินไขว้ชุมชน) โดยอสม.แกนนำและจนท.ที่เกี่ยวข้อง | 0 | 2,750.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 41,500.00 | 0 | 0.00 | 41,500.00 |
พื้นที่ทั้ง ๗ ชุมชน ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุขมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพการป้องกันควบคุมคุมโรคให้จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2568 11:33 น.