กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มโรคเรื้อรังในคลินิกบริการ รพสต.บ้านตลิ่งชัน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ สต บ้านตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,935.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถานีอนามัยบ้านตลิ่งชัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.818,99.948place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญด้านการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะใน๔กลุ่มโรคสำคัญคือโรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD), โรคเบาหวาน, โรคมะเร็งและโรคทางเดินหายใจเรื้อรังที่เป็นภัยเงียบคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกถึงร้อยละ ๘๕ของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเนื่องจากมีความชุกและอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ(International Diabetes Federation: IDF, ๒๐๑๑) พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกในปีพ.ศ.๒๕๕๓จำนวน๓๖๖ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๘.๓ของประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง ๔.๖ล้านคนคาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น ๕๕๒ล้านคนในปีพ.ศ. ๒๕๗๓หมายความว่ามีมากกว่า ๓คน ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานในทุกๆ๑๐วินาทีสำหรับประเทศไทยพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานได้เพิ่มขึ้นจาก ๒๗๗.๗ต่อประชากรแสนคนในปีพ.ศ.๒๕๔๔เป็น ๙๕๔.๒ต่อประชากรแสนคนในปีพ.ศ.๒๕๕๓หรือเพิ่มขึ้นประมาณ ๓.๔เท่าสำหรับรายงานทั่วโลกในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงพบว่ามีมากถึง๑,๐๐๐ล้านคนคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.๒๕๖๘ (ค.ศ.๒๐๒๕) ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง๑.๕๖พันล้านคนโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนอกจากเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญยังเป็นสาเหตุในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามระบบต่างๆของร่างกายที่สำคัญได้แก่หลอดเลือดสมองและหัวใจ ตา ไต และเท้า จากการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้ป่วยในคลินิกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันประจำปี ๒๕๕๙พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด ๑๗คน เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไตค่าeGFR< 60 มล./นาทีจำนวน ๓คนคิดเป็นร้อยละ ๑๗.๖๕ ภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวน๑๐คนคิดเป็นร้อยละ๕๘.๘๒รอบเอวเกินจำนวน ๑๔ คนคิดเป็นร้อยละ ๘๒.๓๕ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD Risk)ในระดับHigh Risk จำนวน คนคิดเป็นร้อยละ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดจำนวน๔๔คน ตรวจสุขภาพประจำปี ๔๒ คน มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ค่าeGFR

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดภาวะเสี่ยง ๓.เพื่อสร้างบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกบริการ

กลุ่มเป้าหมายมีความรุ้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องร้อยละ 81.25 และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องสามารถควบคุม นำ้หนัก รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย ค่าระดับนำ้ตาลในเลือด ค่าความดันโลหิตสูงและ CVD Risk ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑.ศึกษาข้อมูลสุขภาพชุมชนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามารับบริการในคลินิกบริการ ๑.๒.นำปัญหาสุขภาพมาวิเคราะห์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ๑.๓.เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน ๑.๔.จัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการ ๒. ขั้นการดำเนินการ ๒.๑.จัดทำเอกสารประกอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกบริการ ๒.๒.ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ ๒.๓.ประชุมชี้แจงวิธีดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกบริการแก่กลุ่มเป้าหมาย ๒.๔.จัดทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกิจกรรมมีดังนี้ ๒.๔.๑.ประเมินความรู้ของกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ ๒.๔.๒.ให้ความรู้คำแนะนำโดยหลักใส่ใจ ๓ อ. บอกลา๒ ส. โดยใช้ปิงปอง ๗ สี ๒.๔.๓.ประเมินพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลของผู้เข้าร่วมโครงการ ๒.๔.๔.ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลเกี่ยวกับ น้ำหนัก
รอบเอว ดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิตและCVD Risk ทุก ๑ เดือน ๓.ขั้นสรุปผล ๓.๑.สรุปผลการดำเนินงานการจัดทำโครงการ ๓.๒.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ๓.๓.นิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุก๑เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติเพื่อลดค่าความดันโลหิตสูง ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าดัชนีมวลกายเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของการเกิดโรค ๓.มีบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกบริการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2560 11:00 น.