กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 68-L4136-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเปาะเส้ง
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 27,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุวัฒน์ ปารามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น เป็นโรคติดต่อ ที่เกิดจากยุงลาย หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็กและในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะ ที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น ตำบลเปาะเส้งพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและอาการเข้าข่ายด้วยไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2567 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 4 ราย คิดเป็น 83.33 ต่อแสนประชากร โดยพบผู้ป่วยในทุกหมู่ของตำบลเปาะเส้ง จากการแก้ปัญหาระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิด ในการแก้ปัญหา การมีส่วนร่วมในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ จึงได้จัดโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนให้ครอบคลุม ทุกหมู่บ้านในเขตตำบลเปาะเส้ง เพื่อกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้กี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 40 9,200.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย 0 17,900.00 -
รวม 40 27,100.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักและให้ความร่วมมือในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่และสามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้ 2.อัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลงและไม่มีรายงานอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 00:00 น.