โครงการอบรมให้ความรู้ ลดภาวะแทรกซ้อนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้ ลดภาวะแทรกซ้อนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) |
รหัสโครงการ | 68-L2519-1-5 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอามิง เจ๊ะปอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.906,101.912place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 20,950.00 | |||
รวมงบประมาณ | 20,950.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 133 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง (NCD) เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และ โรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการ รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง(Strok) โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละปี โรคหลอดเลือดสมองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ เพศ และปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่ม สุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความคันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง ในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าและเป็นภาวะวิกฤตของแต่ละบุคคล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที่และเหมาะสมอาจเกิดการสูญเสียชีวิต รวมทั้งเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะ ที่สำคัญ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease) ซึ่งกลุ่มโรคดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อพิจารณาเป็นรายโรค และพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาก ที่สุดทั้งในเพศชายและเพศหญิงคือ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 28 ในเพศหญิง และร้อยละ 10.6 ในเพศชาย ส่วนผู้รอดชีวิตจากกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดความพิการหลงเหลือตามมามากที่สุดสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ของตำบลมอเลาะ พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค ได้แก่ การที่ผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเส้นเลือด ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ซึ่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเหล่านี้จะต้องได้รับการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา หากได้รับการนำส่งโรงพยาบาลอย่างถูกวิธี และได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง นับจากเกิดเหตุ จะส่งผลทำให้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 30 และลดความพิการที่อาจเกิดตามมาภายหลังได้ จากสถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลทำให้เกิดความพิการทางด้านการเคลื่อนไหว และเสียชีวิตได้ โดยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา จึงเห็นความสำคัญถึงการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดำเสา ตำบลมอเลาะ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของบัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ"อบรมให้ความรู้ ลดภาวะแทรกซ้อนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) " ขึ้น โดยการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่เพื่อลดความพิการและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงได้เสนอเพื่อจัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อประชากรกลุ่มป่วยความดัน เบาหวาน ที่รับยา รพ.สต.บ้านตำเสา ได้รับการปรัเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ประชากรกลุ่มป่วยความดัน เบาหวาน ที่รับยา รพ.สต.บ้านตำเสา มีภาวะแทรกซ้อนลดลง ร้อยละ 20 |
||
2 | 2. เพื่อประชากรกลุ่มเสี่ยงและส่งสัยป่วย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส และสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ประชากรเสี่ยงสูง ได้รับการคัดกรองป่วยรายใหม่ และพบป่วยใหม่ลดลง ร้อยละ 20 |
||
3 | 3. เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วย กลุ่มป่วย โรคความดัน เบาหวาน มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ผู้ป่วยสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ และความดันได้ดี ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวาน ความดัน สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ และความดันได้ดี ร้อยละ 40 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดําเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. นำเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ 2. จัดทำโครงการ เสนอต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมอเลาะ 3. กำหนดวันและเวลาที่จะดำเนินการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงาน วิทยากร เกี่ยวข้อง 5. จัดการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้ ร่วมกับหน่วยงาน และบุคคลที่ 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ และนำเสนอผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ
1.ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วย และกลุ่มผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน มีความรู้และเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีและสามารถลดความรุนแรงและลดการเกิด โรคแทรกซ้อนได้ และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในเขตรับผิดชอบมารับยาตามนัดมากขึ้น 3. ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูง สามารถควบคุมได้ดีเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2568 15:30 น.