โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5210-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ |
วันที่อนุมัติ | 3 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 82,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายกรีฑาพล จิตประพันธ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 เม.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 82,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 82,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) สืบเนื่องจากหลายทศวรรษที่ผ่านมา สภาวะทางสังคม การดำเนินชีวิตของมนุษย์ และสภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป จนเกิดโรคติดต่อที่เป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งหมายความรวมถึงโรคติดต่ออุบัติซ้ำ เชื้อก่อโรคที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพ เช่น โรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ โรคติดต่อที่ก่อให้เกิดอันตรายในมนุษย์ มีสาเหตุมาจากสัตว์หรือสัตว์ป่า และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัวที่เหมาะสม โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น จากสถานการณ์โรคในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 28 ตุลาคม 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 18 ราย จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี พบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน ในปี 2567 แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดสงขลา ยังคงพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 28 ตุลาคม 2567 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 5,086 ราย เสียชีวิต จำนวน 5 ราย และจากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี พบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน ในปี 2567 นอกจากนี้ จากการพยากรณ์แน้วโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออก แสดงให้เห็นว่า ปี 2567 มีแนวโน้มการระบาดของโรคสูงมาก ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ ซึ่งดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนในพื้นที่ ร่วมกับภาคีเครือข่ายตำบลบางกล่ำ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ตระหนักถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ประกอบกับเป็นปัญหาของชุมชนที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้รวดเร็วให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่กำลังระบาด จึงจัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2568 ขึ้น โดยมีกิจกรรมการรณรงค์ ป้องกัน ควบคุมโรค อย่างจริงจังให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกครัวเรือน เพื่อกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำยุงลาย และยุงตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ ป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ ร้อยละ 100 |
||
2 | เพื่อลดการเกิด และการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆในหมู่บ้าน ลดการเกิด และการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆในหมู่บ้าน ร้อยละ 100 |
||
3 | เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่น ๆ ให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่น ๆ ร้อยละ 100 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อลดการเกิด และการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆในหมู่บ้าน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่น ๆ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ปีงบประมาณ 2568 | 0.00 | 82,000.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
วิธีดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 2. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน 3. กิจกรรมอบรมและรณรงค์ไข้เลือดออกในชุมชน 4. กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาดของโรค 5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 6.ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป สถานที่ดำเนินการ -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ -ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1 - 7 ตำบลบางกล่ำ -บ้านผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และรัศมีรอบบ้านผู้ป่วย 100 เมตร -สถานที่ราชการ 4 แห่ง ได้แก่ *ที่ว่าการอำเภอบางกล่ำ *สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกล่ำ *องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ *โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบางกล่ำ *โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบางกล่ำ งบประมาณ งบประมาณเงินอุดหนุน จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำประจำปี 2568 จำนวน 82,000 บาท รายละเอียดดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดลูกน้ำยุงลายและอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน x 35 บาท จำนวน ๗เดือน เป็นเงิน 4,900 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ 1.20 เมตร X 2.40 เมตร จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน 1,400 บาท - ค่าป้ายชนิดถือรณรงค์โรคไข้เลือดออก จำนวน ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 1,900 บาท จำนวน 5 ป้าย ป้ายละ 380 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,200.- (เงินแปดพันสองร้อยบาทถ้วน) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาดของโรค 1.กิจกรรม พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยใน วัด 3 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง ศพด. 1 แห่ง(พ่นก่อนโรงเรียนเปิด)และสถานที่ราชการ 4 แห่ง - จ้างเหมาคนพ่นสารเคมีฯ(พ่น 2 ครั้งๆละ 600 บาท (พ่นห่างกัน 7 วัน)เป็นเงิน 13,200 บาท 2.กิจกรรมสอบสวนโรค พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยในกรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วย 1 ราย พ่น ๒ ครั้งๆละ 600 บาท พ่นห่างกัน 7 วัน) - จ้างเหมาคนพ่นสารเคมี กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก 25 ราย (โดยอ้างอิงข้อมูลจากฐานการระบาดในปี 2567 ที่มีการระบาดสูงสุด จำนวน 25 ราย) รายพ่นรายละ 2 ครั้ง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท -ค่าจัดซื้อสเปรย์ชนิดกระป๋องกำจัดยุง ขนาด 600 ซีซี จำนวน 5 โหลๆละ 1,320 บาทเป็นเงิน6,600บาท ค่าทรายอะเบท (ชนิดซอง500 ซอง) จำนวน 3 ถังๆ ละ 3,000 บาทเป็นเงิน 9,000 บาท -ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 800 ซองๆละ 5 บาท เป็นเงิน 4,000บาท -น้ำยาเคมีชนิดหมอกควัน จำนวน 2 ขวด ขวดละ 2,000 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66,800.- (เงินหกหมื่นหกพันแปดร้อยบาทถ้วน) กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปูพรม กรณีเกิดผู้ป่วยติดเนื่องกัน 2 ราย ในรัศมี 100 เมตรเดียวกัน โดยคิดจากจำนวนหลังคาเรือนของแต่ละหมู่ หลังคาเรือนละ 10 บาท (มีผู้ป่วยไข้เลือดออกติดต่อกันเนื่อง 5 รายในรัศมี 100 เมตรเดียว ใน ม.6 บ้านยวนยาง ปี 2567) *ม.1 บางกล่ำบน จำนวน 329 หลังคาเรือน เป็นเงิน 3,290 บาท ม.2บางกล่ำล่างจำนวน 47 หลังคาเรือน เป็นเงิน 470 บาท ม.3บางกล่ำใต้ จำนวน 64 หลังคาเรือนเป็นเงิน 640 บาท ม.4บางหยี จำนวน 146 หลังคาเรือนเป็นเงิน 1,460 บาท *ม.5บ้านท่าเมรุ จำนวน 170 หลังคาเรือนเป็นเงิน 1,700 บาท *ม.6บ้านยวนยาง จำนวน 201 หลังคาเรือนเป็นเงิน 2,010 บาท ม.7บ้านหนองม่วง จำนวน 83 หลังคาเรือนเป็นเงิน 830 บาท ทั้ง 7 หมู่บ้าน มีทั้งหมด 1,040 หลังเรือน (ข้อมูลจากประชากรกลางปี 2566 ฐาน JHCIH รพ.สต.บางกล่ำ) * หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 มีโอกาสเกิดผู้ป่วยติดเนื่องกัน 2 ราย ในรัศมี 100 เมตร เดียวกันมากที่สุด ซุึ่งกิจกรรมปูพรหม กรณีเกิดผู้ป่วยติดเนื่องกัน 2 ราย ในรัศมี 100 เมตรเดียวกัน เป็นเงิน 7,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - จ้างเหมาคนพ่นสารเคมีฯ (พ่น 2 ครั้ง (พ่นห่างกัน 7 วัน)) เป็นเงิน 3,680 บาท - น้ำยาเคมีชนิดหมอกควัน จำนวน 1 ขวด ขวดละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าจัดซื้อสเปรย์ชนิดกระป๋องกำจัดยุง ขนาด 600 ซีซี จำนวน 1 โหลๆละ 1,320 บาท เป็นเงิน 1,320 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,000.- (เงินเจ็ดพันบาทถ้วน) หมายเหตุ กิจกรรมที่ 3 สามารถดำเนินการได้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์กรณีผู้ป่วยติดเนื่องกัน 2 ราย ในรัศมี 100 เมตรเดียวกัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 82,000 บาท (เงินแปดหมื่นสองพันบาทถ้วน) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
- มีการป้องกัน เฝ้าระวัง และการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่
- ลดการเกิด และการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในหมู่บ้าน
- ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2568 10:01 น.