กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมให้ความรู้เครือข่ายในการใช้เครื่องพ่นหมอกควัน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
รหัสโครงการ 68-L01-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.ตำบลพิเทน
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2568
งบประมาณ 21,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไซนัด สามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา         ตำบลพิเทน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้น จากผลการดำเนินงานที่ผ่านพบว่าในปี 2564 2565 และ 2566 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 9.79 19.59 และ 93.77 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โดยการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับเวลาเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงลายชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้น ต้องตัดวงจรการติดต่อของโรคอย่างทันท่วงที ซึ่งในปัจจุบันนี้ใช้วิธีการพ่นฟุ้งกระจาย ชนิดถูกตัวตายเพื่อกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค การพ่นเคมีจะเกิดผลดีและมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดของสารเคมี คุณภาพเครื่องพ่นสารเคมี เทคนิคการพ่นสารเคมี และสภาพแวดล้อมขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกนั้นมีชีวนิสัยและพฤติกรรมชอบเกาะพักตามสิ่งห้อยแขวนมากกว่าฝาผนังและบนพื้น มักออกหากินกลางวัน ดังนั้นการพ่นเคมีเพื่อควบคุมกำจัดยุงลายจึงต้องใช้เทคนิคที่ทำให้ละอองน้ำยาลอยฟุ้งคลุมพื้นที่ได้นานพอที่ยุงจะบินมาสัมผัสสารเคมีได้ การพ่นเคมีอาจทำได้ 2 วิธี คือการพ่นเคมีด้วยเครื่องพ่นระบบหมอกควัน และการพ่นเคมีด้วยเครื่องพ่นระบบฝอยละเอียด ซึ่งเครื่องพ่นทั้ง 2 ระบบ ดังกล่าวมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน การบำรุงรักษาเครื่องพ่นเคมีเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่เสมอและมีความคงทนอยู่ได้นาน เนื่องจากมีราคาแพง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้หน่วยงานทั้งนอกและในกระทรวงสาธารณสุข มีการนำเครื่องพ่นเคมีมาใช้กันเป็นจำนวนมากทั้งชนิดหมอกควันและฝอยละเอียด และบ่อยครั้งที่เครื่องพ่นเหล่านั้นเกิดปัญหาเมื่อนำมาใช้งานซึ่งส่งผลถึงการดำเนินงานควบคุมโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้เครือข่ายในการใช้เครื่องพ่นหมอกควันภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

๑.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๒.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เครือข่ายในการใช้เครื่องพ่นหมอกควัน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 2.1.กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 44 คน ประกอบด้วย - เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน จำนวน 3 คน - ตัวแทนโรงเรียนในพื้นที่ตำบลพิเทนโรงเรียนละ 2 คน จำนวน 10 คน - เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน จำนวน 5 คน - เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุ่งยางแดง จำนวน 2 คน - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพศชาย จำนวน 10 คน - คณะกรรมการหมู่บ้านด้านสาธารณสุขหมู่บ้านละ จำนวน 14 คน 2.2.สถานที่ดำเนินการ : ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน 2.3.ระยะเวลาดำเนินการ : พฤษภาคม 2568 2.4.แนวทางการดำเนินงาน : อบรมให้ความรู้เครือข่ายในการใช้เครื่องพ่นหมอกควันภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเรื่องการใช้สารเคมี เพื่อให้สามารถดำเนินการพ่นเคมีได้ถูกต้อง และซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นเคมีเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่เสมอและมีความคงทนอยู่ได้นาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ 3.กิจกรรมอบรมทักษะการขับเคลื่อนงานของทีม SRRT ระดับตำบล 2.1.กลุ่มเป้าหมายจำนวน 23 คน ประกอบด้วย - นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน จำนวน 1 คน - กำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลพิเทน จำนวน 7 คน - ผอ.รพ.สต.พิเทน จำนวน 1 คน - ปศุสัตว์อำเภอ จำนวน 1 คน - ผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 5 คน - ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่ามะพร้าว จำนวน 1 คน - ประธาน อสม. จำนวน 7 คน
2.2.สถานที่ดำเนินการ : ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน 2.3.ระยะเวลาดำเนินการ : กรกฎาคม 2568 2.4.แนวทางการดำเนินงาน : อบรมทักษะความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากยุง สถานการณ์ไข้เลือดออกในพื้นที่ ให้แก่ทีม SRRT ระดับตำบล บทบาทหน้าที่ของทีม SRRT ระดับตำบล และมีการดำเนินการซ้อมแผนเผชิญเหตุแบบตั้งโต๊ะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องพ่นหมอกควัน ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติที่ถูกต้อง
    1. กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เครื่องพ่นหมอกควันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
    2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ SRRT และความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อที่นำโดยแมลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2568 10:11 น.