กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน อำเภอควนขนุน ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3321-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 39,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2568 31 ส.ค. 2568 39,175.00
รวมงบประมาณ 39,175.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 374 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2305 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
53.30
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
17.12

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ร้อยละ 17.12 องค์การอนามัยโลก สำรวจพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 171 ล้านคน และทำนายว่า อีก 30 ปี จะมีผู้ป่วยเบาหวาน 366 ล้านคน เวลาผ่านไปไม่ถึง 30 ปี กลับพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 171 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของประชากรทั่วโลก ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 4 ล้านคนต่อปี หรือเฉลี่ย 8 วินาทีต่อ 1 คน หรืออาจพูดได้ว่าทุกๆ 8 วินาทีจะมีผู้ป่วยเบาหวานตาย 1 คน สถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้มีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ราว 5 ล้านคน หรือเปรียบเทียบ ได้ว่า 1 ใน 11 คนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งแสนคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ มีถึง 40% ที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ขณะที่ผู้ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษามีเพียง 54.1% หรือเพียง 2.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเพียง 1 ใน 3 คน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน ที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับ ประเทศไทย คือ ความชุกของเบาหวานที่เกิดจากปัญหาโรคอ้วนและพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเด็กวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้เป็นคนวัยทำงานและเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2560–2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 30,19024,69923,331 22,52 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป รพ.สต.ปันแตตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุงปี ๒๕67คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,303 คนดำเนินการคัดกรอง จำนวน 2,211 คน คิดเป็นร้อยละ 96.01 พบปกติ จำนวน 1,722 คน คิดเป็นร้อยละ 77.88 พบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 444 คน คิดเป็น ร้อยละ 20.08และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 2.03 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2562-2567จำนวน 71.09,325.04,356.97, 567.26,507.10,392.86 อัตราต่อแสน ซึ่งจากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานในแต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่ทุกปีการที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองสุขภาพและค้นหาผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่

ประชาชนอายุ35 ปี ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานมากกว่าร้อยละ 90

84.12 95.00
2 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง (3อ 2ส + อ้วน/น้ำหนักเกิน) ในประชากร/ชุมชน

กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ    2ส ลดกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ลดอัตราป่วยเบาหวานรายใหม่

20.18 90.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานมีความรอบรู้เรื่องโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3อ 2ส

กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานมีความรอบรู้เรื่องโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3อ 2ส

18.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68
1 คัดกรองโรคเบาหวาน(9 เม.ย. 2568-31 ส.ค. 2568) 32,500.00          
2 สร้างความรอบรู้ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วย(9 เม.ย. 2568-31 ส.ค. 2568) 1,575.00          
3 อบรมอสม.(23 เม.ย. 2568-23 เม.ย. 2568) 5,100.00          
4 กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคเบาหวานและการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติ(25 เม.ย. 2568-31 ส.ค. 2568) 0.00          
รวม 39,175.00
1 คัดกรองโรคเบาหวาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2305 32,500.00 0 0.00
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 คัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป 2,305 32,500.00 -
2 สร้างความรอบรู้ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 1,575.00 0 0.00
25 เม.ย. 68 สร้างความรอบรู้ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส 60 1,575.00 -
3 อบรมอสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 66 5,100.00 0 0.00
22 เม.ย. 68 อบรมอสม.ในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพประชาชนให้ห่างไกลโรค NCDs 66 5,100.00 -
4 กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคเบาหวานและการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 0.00 0 0.00
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคเบาหวานและการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติ 50 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่
  2. ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  3. ลดอัตราการตายด้วยโรคเบาหวาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2568 00:00 น.