กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยชวนพ่อเลิกบุหรี่ ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5210-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางกล่ำ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 27,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุฑามาศ วันดาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 เม.ย. 2568 30 ก.ย. 2568 27,460.00
รวมงบประมาณ 27,460.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ด้านพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของคนไทยทั่วประเทศครั้งล่าสุด โดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศจย.) เมื่อ พ.ศ. 2560 พบว่า มีคนไทยที่อายุเกิน 15 ปีและยังติดบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือนิโคตินชนิดมีควันอยู่มากถึง 10.7 ล้านคน (ร้อยละ 19.1) โดยในจำนวนนี้พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยมีชายไทยที่ติดนิโคตินอยู่ ที่ร้อยละ 37.7 ของชายไทยทั้งหมด และมีเพศหญิงเพียงร้อยละ 1.7 โดยค่าเฉลี่ยของการได้รับนิโคตินต่อวันอยู่ที่ 10 มวนต่อวัน แต่ต้องได้รับนิโคตินมวนแรกภายใน 30 นาทีแรกหลังตื่นนอนมากถึงร้อยละ 60.6 จากข้อมูลดังกล่าว ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่า ยังมีชายไทยมากกว่า 1 ใน 3 ที่ยังติดนิโคตินและในจำนวนนี้ เกินครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ติดนิโคตินในระดับรุนแรง ปัจจุบันมีคนไทยสูบบุหรี่ถึง 10.8 ล้านคน และยังพบว่าร้อยละ 39.5 ของครัวเรือนไทยมีผู้ที่สูบบุหรี่ในบ้านและร้อยละ 27.8 เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ในบ้านทุกวัน การสูบบุหรี่นอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูบ ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองอีกด้วย ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองมีโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ไม่แตกต่างจากผู้ที่สูบบุหรี่ และจากการสำรวจของสถานบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบว่า เด็กที่อาศัยในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่ เกิดการเจ็บป่วยมากกว่าเด็กในบ้านที่ไม่มีการสูบบุหรี่ ส่วนเด็กเล็ก ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปลอดบาม สูงกว่าเด็กทั่วไป และมีอัตราการเกิดโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น ดังนั้นพ่อ แม่ ผู้ปกครองควรหันมาดูแลสุภาพครอบครัวและเป็นตัวอย่างที่ดีโดยการไม่สูบบุหรี่สำหรับเยาวชน โรงพยาบาลบางกล่ำ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยชวนพ่อเลิกบุหรี่ ปี 2568 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่และผู้ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองให้ห่างไกลจากบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ปกครอง
  1. ผู้ปกครองที่สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 30
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการ เข้ารับการบำบัดและสามารถหยุดสูบบุหรี่ต่อเนื่อง 6 เดือน ร้อยละ 10
2 ไม่เกิดผู้สูบหน้าใหม่ในสถานศึกษา

เยาวชนในสถานศึกษาไม่สูบหรี่ ร้อยละ 80

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เยาวชน

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 27,460.00 0 0.00 27,460.00
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 โครงการหนูน้อยชวนพ่อเลิกบุหรี่ ปีงบประมาณ 2568 50 27,460.00 - -
รวมทั้งสิ้น 50 27,460.00 0 0.00 27,460.00

งบประมาณ 1. ประชุมคณะทำงานวางแผนการสำรวจผู้ที่สูบบุหรี่ในพื้นที่ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 ชุด x 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท 2. กิจกรรมสำรวจและคัดกรองผู้ปกครองที่สูบบุหรี่ - กระเป๋าใส่เอกสารใบละ 100 บาท จำนวน 20 ใบ เป็นเงิน 2,000 บาท -ชุดเอกสารประกอบการอบรมคู่มือแบบสำรวจการสูบบุหรี่ของผู้ปกครอง 20 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 3. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยจากบุหรี่ - ค่าอาหารว่าง 40 คน x 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าวิทยากรวันละ 3 ชม. x ชม.ละ 600 บาท x 1 วัน x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าป้ายห้ามสูบบุหรี่ ขนาด 45x60 ซม. พื้นอลูมิเนียมคอมโพสิตเคลือบเงาพร้อมเสาเหล็ก อันละ 4,000 บาท จำนวน 2 อัน เป็นเงิน 8,000 บาท - ค่าโฟมบอร์ด รณรงค์เลิกสูบบุหรี่ ขนาด 80 x 50 ซม. อันละ 240 บาท จำนวน 4 อัน เป็นเงิน 960 บาท 4. กิจกรรมบำบัดผู้สูบบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการ - สมุดบันทึกการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ปกครอง 20 คน x 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - หมากฝรั่งนิโคติน แฝงละ 60 บาท x จำนวน 100 แผง เป็นเงิน 6,000 บาท 5. กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการและคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ติดต่อกันเกิน 3 เดือน - ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบจำนวน 20 ชุด ชุดละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่าง 40 คน x 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 27,460 บาท หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้สูบบุหรี่วัยทำงานลดลง
  2. เยาวชนไม่สูบหุรี่ลดจำนวนผู้สูบหน้าใหม่
  3. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยจากการสูบบุหรี่
  4. ส่งเสริมสถาบันครอบครัวการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2568 16:00 น.