กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
รหัสโครงการ l8401-68-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว
วันที่อนุมัติ 8 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฑามาศ พุ่มมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.069,100.657place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 236 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคโลกาภิวัตน์ การเข้ามาซึ่งวัฒนธรรมตะวันตก สื่อเทคโนโลยีทันสมัยกับวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในการเผชิญสังคมยุคใหม่ ส่งผลกระทบถึงปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งสังคมกำลังให้ความสนใจ การแก้ปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน เพื่อดำเนินงานและการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม จากสถิติประเทศไทยติดอันดับ ๑ในทวีปเอเชียและอันดับ๓ ระดับโลกที่มีเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์มากที่สุดส่งผลต่อพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลกระทบตามมาในระยะยาวในเรื่องพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ มากมาย จากการประเมินผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาวมีอัตราการคลอดบุตร น้อยกว่า ๒o ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากร้อยละ ๙ ในปีงบประมาณ ๒๕๖7 เป็นร้อยละ ๑๑.๗ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ซึ่งเกณฑ์กำหนดไม่เกินร้อยละ ๑o ซึ่งปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ส่งผลทางด้านสังคมเป็นอย่างมาก จากกาสำรวจความเห็นวัยรุ่นไทยว่าคิดอย่างไรกับพ่อแม่ พบว่าแม้กว่าร้อยละ ๙๐ ยืนยันว่า “แม่” คือบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิต แต่ก็ยอมรับว่าตนเองมีความลับกับแม่เรื่องความรัก และเรื่องการคบเพื่อนต่างเพศมากที่สุด ดังนั้นวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่จึงไม่กล้าสื่อสารกับ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ทั้งที่พ่อแม่คือคนที่วัยรุ่นอยากพูดคุย ปรึกษาเมื่อมีปัญหาในเรื่องความรัก เรื่องแฟนมากที่สุด อาจเพราะกลัวพ่อแม่เสียใจกับพฤติกรรมของตน กลัวถูกดุด่าว่ากล่าวหรือไม่ชอบให้นำพฤติกรรมของตนไปเปรียบเทียบกับครอบครัวอื่น หรือกระทั่งเปรียบเทียบกับสมัยที่พ่อแม่เป็นวัยรุ่นก็ตาม ดังนั้นการส่งเสริมการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อเสริมสร้างบทบาทครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน โดยมุ่งให้พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่น มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ และมีทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์ภายในครอบครัว มารดาวัยรุ่นมักไม่แต่งงาน มีปัญหาการหย่าร้างสูงไม่มีอาชีพ มีโอกาสทำผิดกฎหมายสูงทำแท้ง ทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลเป็นปัญหาสังคมเยาวชนหยุดเรียน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ผลต่ออารมณ์ จิตใจ สังคม เครียด ซึมเศร้า กังวลสร้างบาดแผลอันเจ็บปวดแห่งความทรงจำไม่รู้ลืม ไม่ได้ศึกษาต่อหรือจบช้า หางานลำบากเนื่องจากขาดคุณวุฒิ ขาดทักษะในการเป็นผู้ปกครอง และการเลี้ยงดูบุตร พฤติกรรมเสี่ยงยาเสพติด รวมทั้งโรคทางเพศสัมพันธ์ซึ่งครอบครัว มารดาวัยรุ่นมักไม่แต่งงาน มีปัญหาการหย่าร้างสูงไม่มีอาชีพ มีโอกาสทำผิดกฎหมายสูงทำแท้ง ทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลเป็นปัญหาสังคมเยาวชนหยุดเรียน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ผลต่ออารมณ์ จิตใจ สังคม เครียด ซึมเศร้า กังวลสร้างบาดแผลอันเจ็บปวดแห่งความทรงจำไม่รู้ลืม ไม่ได้ศึกษาต่อหรือจบช้า หางานลำบากเนื่องจากขาดคุณวุฒิ ขาดทักษะในการเป็นผู้ปกครอง และการเลี้ยงดูบุตร พฤติกรรมเสี่ยงยาเสพติด รวมทั้งโรคทางเพศสัมพันธ์ซึ่งมักมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกที่อยู่ในครรภ์ตลอดจนถึงระยะหลังคลอด ภาวะเสี่ยงของมารดาหรือเกิดในหญิงตั้งครรภ์จะมีผลกระทบเป็นอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ด้วย เช่น โรคติดเชื้อ โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ปัญหาการขาดสารอาหาร โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความผิดปกติของเม็ดเลือด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะการคลอดติดขัด การดูแลสุขภาพหญิงมีครรภ์ การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยมีภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนอื่น ๆ โดยการรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนสนับสนุนให้ครอบครัวมีความอบอุ่นจากการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นให้ทุกคนมีความตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความมั่นคงเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โดยเริ่มต้นจากครอบครัวให้ลูกได้ดื่มนมแม่ เพราะน้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุด สำหรับทารกแรกเกิด ไม่มีอาหารชนิดใดที่เหมาะสมกับทารกเท่ากับน้ำนมแม่ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดมา ให้ใช้เลี้ยงดูบุตร โดยมีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในขวบปีแรกจะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ร่วมกับการพัฒนาทางด้านอารมณ์เด็กจะมีความสุข มั่นใจในสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความรู้สึกไว้วางใจในบุคคล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยต่อไป ด้วยเหตุนี้ รพ.สต.บ้านทรายขาว จึงจัดทำโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่น เน้นทักษะเรื่องเพศ กิจกรรมรวมพลคนกินนมแม่ และกิจกรรมดูแลหญิงตั้งครรภ์ปกติ และครรภ์เสี่ยง ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟัน โดยสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชน  มีส่วนร่วมอันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ แก่ เด็กเยาวชน หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็ก ๐-๕ ปี ในพื้นที่ หมู่ ๔ - ๘ ตำบลทุ่งหวัง เพื่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย พัฒนาการสมวัย ห่างไกลฟันผุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕

 

2 ๒. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖o

 

3 3. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและทารกมีน้ำหนักไม่ต่ำ ๒,๕๐๐ กรัม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 7

 

4 4. หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

 

5 5. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการติดตามพัฒนาการตามช่วงวัย

 

6 6. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการตรวจช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 - ค่าชุดบำรุงครรภ์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ทีมีภาวะครรภ์เสี่ยง (ไข่) จำนวน 30 คนๆ ละ ๔ แผงๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน 18,000 บาท - ค่าชุดอุปกรณ์ฝึกทักษะการแปรงฟัน ชุดละ 30 บาท จำนวน 30 ชุด เป็นเงิน 900 บาท 0 18,900.00 -
9 เม.ย. 68 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 2 ปี ในกิจกรรมให้ความรู้กลุ่มย่อย จำนวน 1 มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน 125 คน เป็นเงิน ๓,125 บาท - อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากเด็กสำหรับฝึกทักษะ จำนวน ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 3,125 บาท - ฟลูออไรด์วานิช 0 9,150.00 -
9 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑ มื้อ ๆ ละ ๕๐ บาท จำนวน ๖๐ คน เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๖๐ คน เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท - ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑ x ๓ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน 500 บาท - ชุดสาธิตอาหา 0 10,000.00 -
9 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ๑. พ่อแม่ผู้ปกครองเกิดการวิเคราะห์ตนเองและสิ่งแวดล้อมเห็นช่องว่างทางความคิดและวิถีชีวิตระหว่างคนต่างรุ่นและผลที่ตามมา ๒. พ่อแม่ผู้ปกครองเกิดทัศนะที่เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถีและรับฟังมากขึ้นจากการได้มุมมองที่แตกต่างหลากหลาย หญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอดและครอบ 0 0.00 -
รวม 0 38,050.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. พ่อแม่ผู้ปกครองเกิดการวิเคราะห์ตนเองและสิ่งแวดล้อมเห็นช่องว่างทางความคิดและวิถีชีวิตระหว่างคนต่างรุ่นและผลที่ตามมา ๒. พ่อแม่ผู้ปกครองเกิดทัศนะที่เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถีและรับฟังมากขึ้นจากการได้มุมมองที่แตกต่างหลากหลาย หญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอดและครอบครัวมีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย ๖ เดือน
๓. เกิดบุคคลต้นแบบ”การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน”
๔. มารดามีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง และทารกหลังคลอด มีน้ำหนักมากว่า ๒,๕๐๐ กรัม ๕. วัยรุ่นมีทักษะชีวิตในเรื่องเพศศึกษา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2568 17:24 น.