โครงการฟื้นฟูศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุตำบลทุ่งหวัง
ชื่อโครงการ | โครงการฟื้นฟูศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุตำบลทุ่งหวัง |
รหัสโครงการ | l8401-68-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหวัง |
วันที่อนุมัติ | 8 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 29,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนูรุลฮูดา ยูโซะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.069,100.657place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล จากสถิติจำนวนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2567 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่ามีผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นจำนวน 20.70% จากประชากรทั้งหมด นั่นหมายความว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ หรือ Aged Societyซึ่งตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ กำหนดไว้ว่าประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วน เกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้โครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีสัดส่วน ของผู้สูงอายุมากขึ้น ย่อมทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและเตรียมการ โดยระดมทรัพยากรและสหวิทยาการต่างๆ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม การคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
ตำบลทุ่งหวังมีประชากรทั้งหมด 9,901 คน มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 2,932 คน คิดเป็น 29.01 %ของประชากรทั้งหมดของตำบลทุ่งหวังพบว่า ตำบลทุ่งหวังก้าวเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว ซึ่งผู้สูงอายุในตำบลทุ่งหวังทั้งหมด 2,932 คน แยกเป็นติดสังคม 2,652 คน ติดบ้าน 243 คน ติดเตียง 37 คน และผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพ 9 ด้าน ( 1. ความคิดความจำ 2. การเคลื่อนไหวร่างกาย 3. การขาดสารอาหาร 4. การมองเห็น 5. การได้ยิน 6. การซึมเศร้า 7. การกลั้นปัสสาวะ 8. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 9. สุขภาพช่องปาก)ทั้งหมดจำนวน 884 คน ส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุมีปัญหาการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชนจึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็งและเข้าใจวิธีการทำงานเชิงรุกในพื้นที่ ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ที่ให้บริการแก่ชุมชนจึงมีบทบาทของการมีส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพชุมชน และมีศักยภาพในการเข้าถึงประชาชนตามกลุ่มวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุในพื้นที่ สามารถติดตามช่วยเหลือการเข้าถึงระบบสุขภาพ และสามารถจัดระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพในชุมชนให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีสุขภาพทางกายที่แข็งแรง และจิตใจเข้มแข็ง ซึ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีความสุขและตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง พร้อมเป็นพลังให้แก่ชุมชนต่อไป
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหวังและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการฟื้นฟูศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุตำบลทุ่งหวัง
ในปีงบประมาณ2568 ขึ้นเพื่อผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถให้การดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผู้สูงอายุในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) อาสาสมัครเชี่ยวชาญสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสมช.) อาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.) นักบริบาลและผู้ช่วยสมองเสื่อมให้มีความรู้ความสามารถที่ถูกต้อง สามารถปฏิบัติและดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียงได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักและกระบวนการ
|
||
2 | เพื่อเตรียมรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง “ Long term care” ในตำบลทุ่งหวังทั้ง 10 หมู่บ้าน
|
||
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลทุ่งหวังทั้ง 10 หมู่ได้รับการดูแลสุขภาพด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
||
4 | ฟื้นฟูความรู้และทักษะในการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | -ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 54 คน พร้อมคณะทำงาน ( 50 บาท × 54 คน × 2 วัน ) | 54 | 5,400.00 | - | ||
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | -อาหารว่างระหว่างมื้อๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ จำนวน 54 คน พร้อมคณะทำงาน ( 25 บาท × 54 คน × 4 ครั้ง x 2วัน ) | 0 | 5,400.00 | - | ||
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 คน คนละ 6 ชั่วโมง จำนวน 2 วัน ( 600 บาท × 2 คน × 6 ชั่วโมง x 2 วัน ) | 0 | 14,400.00 | - | ||
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | -ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย | 0 | 500.00 | - | ||
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | -ค่าเอกสารคู่มือการอบรม 50เล่มๆละ 50 บาท | 0 | 2,500.00 | - | ||
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | -อุปกรณ์ สมุด ปากกา 50 ชุดๆละ20บาท | 0 | 1,000.00 | - | ||
รวม | 54 | 29,200.00 | 0 | 0.00 |
1.ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมได้
อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.มีภาคีเครือข่ายตำบล การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่เข้มแข็ง
3.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) อสมช. อสค. นักบริบาล ผู้ช่วย
สมองเสื่อม และภาคีเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม
4.ผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2568 09:22 น.