โครงการคนทุ่งหวังห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ลดเสี่ยง ลดโรค
ชื่อโครงการ | โครงการคนทุ่งหวังห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ลดเสี่ยง ลดโรค |
รหัสโครงการ | l8401-68-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหวัง |
วันที่อนุมัติ | 8 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 41,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธนิสสรา เจ๊ะแม็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.069,100.657place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรค NCDs ( non-communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต มีการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไต โรคNCDs เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และความพิการจากหลอดเลือดตีบหรือแตก (stroke) ของประชากรไทย โดยในปี พ.ศ.2566 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเหล่านี้ประมาณ 400,00 คน คิดเป็นร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าในทุก ๆชั่วโมง จะมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคNCDs กว่า 45 ราย จากสถิติกรมควบคุมโรคและกรมการแพทย์ พบว่าในจำนวนนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับหนึ่ง โดยมีผู้ป่วยมากกว่า 740,000 รายต่อปี มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 70,000 ราย หรือเฉลี่ยประมาณ 8 รายต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรสูงวัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวทำให้เกิดภาวะทุพลภาพหรือความพิการต่างๆ ลดผลิตภาพของแรงงาน นอกจากผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว โรคNCDs ยังเป็นภาระทางเศรษฐกิจ ของประเทศอย่างมหาศาล โดยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึง 62,138 ล้านบาท ในปี 2560 ซึ่งคิดเป็น 50 % ของงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีเดียวกัน โรคNCDsเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศ หากไม่มีมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ปริมาณผู้ป่วยและภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนควรให้ความร่วมมือในการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเหล่านี้เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดภาระด้านสุขภาพด้ายสุขภาพและเศรษฐกิจจาก NCDs ได้ในระยะยาว ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหวัง มีประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปทั้งหมด 2,380 คน ป่วยเป็นโรคNCDs ที่อยู่ในพื้นที่ แยกเป็นโรคเบาหวานสะสมทั้งสิ้น 381 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 609 ราย และจากการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2568 ทั้งหมด 1021 คน แยกเป็นกลุ่มปกติ 771 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 151 ราย กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 99 คน ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาที่เป็นข้อมูลสถิติของประเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหวัง จึงได้จัดทำโครงการคนทรายขาวห่างไกล โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีในกลุ่มปกติ และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ยืนยันโรคในกลุ่มสงสัยป่วย และเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ในกลุ่มป่วย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ความพิการต่างๆของผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหวัง จึงได้จัดทำ “ โครงการคนทุ่งหวัง ห่างไกล โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ลดเสี่ยง ลดโรค ”ขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเสียชีวิต รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มประชาชนทั่วไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ลดความเสี่ยง ลดการเกิดโรค
|
||
2 | เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่
|
||
3 | เพื่อลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยในผู้ป่วยรายเก่า ด้วยการส่งเสริมให้มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพ
|
||
4 | เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการรักษาและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่ม
|
||
5 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1.กิจกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กิจกรรม 3 ครั้ง เป้าหมายกลุ่มเสี่ยง และคณะทำงาน จำนวน 30 คน(10 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) | 8,550.00 | ||||||
2 | 2.) กิจกรรมกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กิจกรรม 3 ครั้ง เป้าหมายกลุ่มสงสัยป่วย และคณะทำงาน จำนวน 30 คน(10 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) | 8,550.00 | ||||||
3 | 3.) กิจกรรมกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กิจกรรม 6 ครั้ง เป้าหมายกลุ่มป่วย และคณะทำงาน จำนวน 30 คน(10 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) | 15,300.00 | ||||||
4 | ค่าอุปกรณ์อื่นๆ(10 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) | 9,400.00 | ||||||
รวม | 41,800.00 |
1 1.กิจกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กิจกรรม 3 ครั้ง เป้าหมายกลุ่มเสี่ยง และคณะทำงาน จำนวน 30 คน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 30 | 8,550.00 | 0 | 0.00 | 8,550.00 | |
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 30 คน พร้อมคณะทำงาน ( 50 บาท × 30 คน × 3 ครั้ง ) รวมเป็นเงิน 4,500 บาท - อาหารว่างระหว่างมื้อๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 30 | 30 | 8,550.00 | - | - | ||
2 2.) กิจกรรมกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กิจกรรม 3 ครั้ง เป้าหมายกลุ่มสงสัยป่วย และคณะทำงาน จำนวน 30 คน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 30 | 8,550.00 | 0 | 0.00 | 8,550.00 | |
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 30 คน พร้อมคณะทำงาน ( 50 บาท × 30 คน × 3 ครั้ง ) รวมเป็นเงิน 4,500 บาท - อาหารว่างระหว่างมื้อๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ | 30 | 8,550.00 | - | - | ||
3 3.) กิจกรรมกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กิจกรรม 6 ครั้ง เป้าหมายกลุ่มป่วย และคณะทำงาน จำนวน 30 คน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 30 | 15,300.00 | 0 | 0.00 | 15,300.00 | |
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 30 คน พร้อมคณะทำงาน ( 50 บาท × 30 คน × 6 ครั้ง ) รวมเป็นเงิน 9,000 บาท - อาหารว่างระหว่างมื้อๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 30 | 30 | 15,300.00 | - | - | ||
4 ค่าอุปกรณ์อื่นๆ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 9,400.00 | 0 | 0.00 | 9,400.00 | |
10 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 4.)เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว accu-chek 1 เครื่องๆละ 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท 5.)แถบตรวจน้ำตาล accu-chek กล่องๆละ 100 ชิ้น กล่องๆละ 950 บาท จำนวน 3 กล่อง (3 | 0 | 9,400.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 90 | 41,800.00 | 0 | 0.00 | 41,800.00 |
6.1 ประชาชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถลดความเสี่ยง ลดโรค ไม่ติดต่อเรื้องรัง(NCDs) 6.2 ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 6.3 ลดภาวะโรคแทรกซ้อนของกลุ่มผู้ป่วย(โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง) ได้มากขึ้น 6.4 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักเห็นถึงความสำคัญการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2568 09:36 น.