กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ PITEN SMART TEEN SMART MOM
รหัสโครงการ 68-L01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.ตำบลพิเทน
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 9 กันยายน 2568
งบประมาณ 20,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไซนับ สามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันยังมีหญิงตั้งครรภ์จำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็ว หรืออาจมีอุปสรรคบางประการที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ เช่น การตรวจพบความผิดปกติล่าช้า หากตรวจพบความผิดปกติของทารกในครรภ์ในระยะที่ล้ำหน้า อาจทำให้การรักษาหรือการตัดสินใจต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ การไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ หรือการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากแม่ ทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการในระยะยาว อัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็ก หากมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาจนำไปสู่การเสียชีวิตของทั้งแม่และเด็กได้ การฝากครรภ์เร็ว หรือ EARLY ANC มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของทั้งแม่และลูก เนื่องจากช่วยให้ ตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว แพทย์สามารถตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคเอดส์ และความผิดปกติของโครโมโซม ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ หากพบปัญหาสุขภาพ แพทย์สามารถให้คำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมได้ทันท่วงที ทำให้เตรียมตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงได้ คุณแม่จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ช่วยให้ทั้งแม่และลูกมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ การฝากครรภ์เร็วเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของทั้งแม่และลูก การส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยการสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็ว การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการ และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น         จากสถิติ ปี 2565 - ปี 2567 อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน เขตสุขภาพที่ 12 ร้อยละ 37.94 ,23.58,36.93 ตามลำดับ (ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม) ส่วนใหญ่สาเหตุของมารดาตายเกิดจากมารดาโดยตรง เช่น ความดันสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ตกเลือดระหว่างคลอด เป็นต้น จากสถิติ ปี 2565 - ปี 2567 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ของจังหวัดปัตตานี ร้อยละ 74.53, 73.60, 79.56 ตามลำดับ ( Health Data Center จังหวัดปัตตานี) จากผลงานที่ผ่านมาในพื้นที่ตำบลพิเทน พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ปี 2565 - ปี 2567 ร้อยละ 75.86, 72.88, 63.89 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มลดลง หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ ปี 2565 - ปี 2567 ร้อยละ 70.69, 64.41, 60.00 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มลดลง ทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปี 2565 - ปี 2567 ร้อยละ 2.17, 2.60, 7.58 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดใน LAB ANC 1 ปี 2565 - ปี 2567 ร้อยละ 26.6, 16.6, 22.6 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดใน LAB ANC 2 ปี 2565 - ปี 2567 ร้อยละ 33.7, 32.3, 50.6 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ (รายงานความครอบคลุมงานอนามัยแม่และเด็กตำบลพิเทน) หากหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ และตั้งครรภ์ไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อการเกิดและการคลอด ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตและครอบครัว ซึ่งการฝากครรภ์เร็วจะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เร็ว ได้รับการวินิจฉัยและส่งพบสูติแพทย์เพื่อได้การรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน จึงได้จัดทำโครงการ PITEN SMART TEEN SMART MOM ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์เร็วในชุมชน และการแก้ปัญหาภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิดโดยการสร้างความเข้าใจทำให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์เร็ว เน้นการมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง และการเข้าถึงบริการ ทำให้บริการฝากครรภ์เข้าถึงได้ง่าย สะดวก และเป็นมิตร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมทีมเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ 3.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ จัดในชุมชน   - กลุ่มเป้าหมาย : หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงาน และอยู่กินกับสามี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จำนวน 50 คน   - สถานที่ดำเนินการ : ในชุมชนพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี   - ระยะเวลาดำเนินการ : มิถุนายน 2568   - แนวทางการดำเนินงาน : กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์จัดในชุมชน พื้นที่ หมู่ 1ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่นำร่อง, กิจกรรมแจกยาเม็ด Folic สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่วางแผนมีบุตร สร้างความเข้าใจผลดีการฝากครรภ์เร็วผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ, เยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้คำปรึกษา 4.กิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์   - กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 75 คน   - สถานที่ดำเนินการ : ในชุมชนตำบลพิเทน   - ระยะเวลาดำเนินการ : มกราคม - กันยายน 2568   - แนวทางการดำเนินงาน : ให้ความรู้เรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์รายบุคคล เน้นย้ำถึงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก เพื่อป้องกัน ภาวะซีดระหว่างตั้งครรภ์ ,มีการสนับสนุนให้รับประทานไข่ไก่ ซึ่งเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง หาง่ายในชุมชน คนละ 10 ฟอง 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ฝากครรภ์ ,ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด เพื่อติดตามการรับประทานอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก


5.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน/รายงานผล   - กลุ่มเป้าหมาย : เจ้าหน้าที่   - สถานที่ดำเนินการ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน   - ระยะเวลาดำเนินการ : เดือนกันยายน 2567   - แนวทางการดำเนินงาน : ติดตามประเมินผล ถอดบทเรียนและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75 2.หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75 3.ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 14

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2568 10:10 น.