กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 68-L3348-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลานข่อย(มาดนั่ง)
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 12,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประเสริฐ ขำผุด
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาของสังคมประการหนึ่งที่มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อเด็ก คือ ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัวเด็กจำนวนหนึ่งอาจได้รับการเลี้ยงดูเรื่องการกินที่ไม่เหมาะสมอันส่งผลต่อการเจริญเติบโตคุณภาพชีวิตของเด็กทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อสุขภาพอนามัยและพัฒนาการตลอดจนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมต่างๆ จากภายนอกส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตทำให้จำเป็นต้อง ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมในสังคมตนเอง การพัฒนาเด็กที่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสังคมของเด็ก ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างกันไปจึงมีความสำคัญในโลกที่ความรู้และเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากและเป็นไปอย่างรวดเร็ว เด็กไม่สามารถจดจำทุกอย่างอีกทั้งความรู้ไม่ได้อยู่นิ่งหรือเกิดขึ้นอย่างช้าพอที่จะเรียนรู้ผ่านผู้รู้คนใดคนหนึ่งอีกต่อไป เด็กจำต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถเติบโตและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยการปลูกฝังให้เด็กมีเจตคติที่ดีการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้กลั่นกรองข้อมูลเลือกใช้และนำมาใช้ในสถานการณ์ที่ตนต้องการได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้เด็กยังจำเป็นต้อง มีความสามารถในการเรียนรู้จากผู้อื่นและประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา ด้านการมีวินัย ซึ่งจะส่งผลให้เด็กสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลานข่อย(มาดนั่ง)ร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลานข่อย เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพครู ผู้ดูแลเด็ก เด็กและผู้ปกครองเด็ก ผู้ประกอบการอาหารกลางวันให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังโภชนาการของเด็กปฐมวัยใน ศพด.

1.ร้อยละ 90 ครู ผู้ดูแลเด็ก เด็กและผู้ปกครองเด็ก ผู้ประกอบการอาหารกลางวันที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังโภชนาการของเด็กปฐมวัยใน ศพด.

2 2.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและการมีวินัยของเด็กปฐมวัย

2.ร้อยละ 90 ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและการมีวินัยของเด็กปฐมวัย

3 3.เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ศพด. ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

3.ร้อยละ 90 สร้างความสามัคคีระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ศพด. ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(17 มี.ค. 2568-31 ส.ค. 2568) 0.00            
2 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย(17 มี.ค. 2568-31 ส.ค. 2568) 0.00            
รวม 0.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
2 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครู ผู้ดูแลเด็ก เด็กและผู้ปกครองเด็ก ผู้ประกอบการอาหารกลางวันได้มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังโภชนาการของเด็กปฐมวัยใน ศพด.มากยิ่งขึ้น
2.ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและการมีวินัยของเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมในการเข้ารับการศึกษาในระดับต่อไป
3.สร้างความสามัคคีระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2568 10:00 น.