โครงการฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพครู และผู้ดูแลเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพครู และผู้ดูแลเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3029-2-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน |
วันที่อนุมัติ | 11 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 11 เมษายน 2568 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,625.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปาอีซะห์ โต๊ะอีแม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | องค์การบริหารส่วน ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 125 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งด้านอาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ซึ่งในพื้นที่ตำบลประจันมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง พบปัญหาเกี่ยวกับโภชนาการ คือไม่ชอบทานผัก และไม่ชอบดื่มนมรสจืด จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมากับเด็กเองในอนาคตข้างหน้า เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ครูผู้ดูแลเด็กได้ควรรับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ ดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครอง เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรม โดยสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง ระหว่างบ้าน และศูนย์เด็ก และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรในท้องถิ่น ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกัน
นอกจากต้องส่งเสริมเรื่องโภชนาการ การเฝ้าระวังอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาลก็สำคัญยิ่ง เพราะโดยธรรมชาติเด็กเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและสนใจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก เด็กจึงอยู่ไม่นิ่ง ซุกซน อยากเรียนรู้ ชอบค้นคว้า ทดลองสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา วัยเด็กเป็นวัยแห่งพลังงาน เด็กมีพลังงานมากมายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ตามความต้องการ วัยเด็กจึงเป็นวัยที่มีความเสี่ยงจากการได้รับอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเด็กแรกเกิดหรือเด็กช่วงวัยทารก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ไม่น้อยไปกว่าวัยเด็กเล็กหรือวัยก่อนเรียน อุบัติเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากการขาดความระมัดระวังของผู้เลี้ยงดูเด็กจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นเพื่อให้การดูแลสุขภาพเด็กเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลเด็ก ศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การป้องกัน การลดความเสี่ยงภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ช่วยให้เด็กได้รับการคุ้มครองไม่ให้เด็กได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดความพิการ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ปลอดภัย ปราศจากอันตรายและมีสุขภาพดี การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ขณะนั้น นำมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น ควรทำการปฐมพยาบาลให้เร็วที่สุดหลังเกิดเหตุโดยอาจทำได้ในทันที หรือระหว่างการนำผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่รักษาพยาบาลอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ก่อนที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาล
ดังนั้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน จึงเล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กขึ้น เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ทราบถึงความสำคัญเรื่องโภชนาการและมีความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธีตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | เม.ย. 68 |
---|---|---|---|
1 | โครงการฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพครู และผู้ดูแลเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2568(11 เม.ย. 2568-30 เม.ย. 2568) | 22,625.00 | |
รวม | 22,625.00 |
1 โครงการฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพครู และผู้ดูแลเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2568 | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 250 | 22,625.00 | 0 | 0.00 | |
29 เม.ย. 68 | กิจกรรมประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจัน | 125 | 22,625.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 | กิจกรรมให้ความรู้การส่งเสริมโภชนาการและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น | 125 | 0.00 | - | ||
๑. ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ตามมาตรฐานการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆ และสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก
2. มีการขับเคลื่อนการจัดการและการแก้ไขปัญหาภาวะเตี้ย ผอม และอ้วนในเด็กปฐมวัย
3. เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
4. ครูผู้ปกครองเกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันและแก้ไขหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในเด็กปฐมวัย
5. ลดอัตราความรุนแรงของอาการบาดเจ็บให้ลดน้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2568 11:08 น.