โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ตำบลปานัน ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ตำบลปานัน ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-l3004-01-19 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปานัน |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 21,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซูรายณี บูงอเตะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะโด อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.666,101.359place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 21,300.00 | |||
รวมงบประมาณ | 21,300.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการเหตุผล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง
ปัจจุบันระบบสุขภาพไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุการเปลี่ยนจากสังคมชนบทสู่สังคมเมืองตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประชาชนมีความคาดหวังต่อคุณภาพของระบบบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพในภาคประชาชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้มีกำลังคนด้านสุขภาพในชุมชนที่มีศักยภาพและเป็นแกนหลักในการดูแลและจัดการด้านสุขภาพของประชาชน ประกอบกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases : NCDs) มากขึ้น รวมถึง มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้น เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพมุ่งหวังให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง (Self Care) ให้ประชาชนได้เลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่ใช้ประพฤติปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยกันเอง ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ระวังรักษาร่างกายให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค ภัย อันตรายที่อาจจะทำให้บาดเจ็บ ป่วย เสี่ยงหรือพิการ การดูแลจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสโดยการใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคโนโลยีและทรัพยากรพื้นฐานในครอบครัว ชุมชนและสังคม ดังนั้นในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนเพื่อประชาชนสุขภาพดี จึงต้องขยายเครือข่ายการสร้างความรู้ให้ประชาชนจากชุมชนไปสู่ถึงครัวเรือนด้วยการกำหนดให้ตัวแทนประชาชนในครัวเรือนด้วยการให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลมาเข้ารับการอบรมหรือเรียนรู้ร่วมกับญาติที่ป่วยว่าควรจะดูแลอย่างไรและจะทำอย่างไรให้คนในครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อเสริสร้างศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการให้ประชาชนดำเนินการตามหน้าที่ของพลเมืองในการมีความรู้ ความเข้าใจและประพฤติปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างรับผิดชอบด้วยความรู้สึกว่า “สุขภาพเป็นของเรา” ในทุกครอบครัว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพจาก รพ.สต. สู่ชุมชน ตลอดจนครอบครัวและบุคคล ข้อที่ 2.เพื่อให้ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ข้อที่ 3.เพื่อให้บุคคลในแต่ละครอบครัวได้ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ข้อที่ 4.เพื่อให้แต่ละครอบครัวมีผู้ดูแลอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้ดูแลสุขภาพ ประสานและเชื่อโยงแก่ อสม. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ข้อที่ 5.เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึงพิง ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ โดย อสม.ที่รับผิดชอบและ ตัวแทนประจำครอบครัวในการดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.มีตัวแทนประจำครอบครัว ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ครอบครัวละ 1 คน
2.ตัวแทนประจำครอบครัว มีศักยภาพและเชื่อมโยงการดูแลสุขภาพของบุคคลและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
3.มีตัวแทนประจำครอบครัว ที่เป็นผู้ดูแลสุขภาพ เชื่อมประสาน กับ อสม.ซึ่งเป็นแกนนำขับเคลื่อนการดูแลและจัดการสุขภาพของชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2568 13:58 น.