การประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงหมู่ 1 บ้านบาโง ตำบลปานัน
ชื่อโครงการ | การประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงหมู่ 1 บ้านบาโง ตำบลปานัน |
รหัสโครงการ | 68-l3004-02-22 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบาโง |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,420.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมูรณี เจ๊ะซู |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะโด อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.666,101.359place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 10,420.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,420.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
หลักการเหตุผล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสีย สิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิตเพราะตายจาก การสูญเสียบุตรเพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแห่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ และหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นการประเมินผู้สูงอายุเพื่อแบ่งกลุ่มในการดูแลได้อย่างเหมาะสมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ สังคมและอารมณ์ ข้อที่ 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง มีสุขภาพดีและช่วยเหลือดูแลตนเองได้ ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงได้มีการพบปะ สังสรรค์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงได้รับการดูแลร้อยละ 80
ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพร้อยละ 100 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงได้รับการดูแล 2.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพ 100% 3.ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงได้รับการดูแลต่อเนื่อง 4.ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองให้สุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม สามารถอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่าในสังคม 5.สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2568 14:41 น.