โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กมุสลิมตำบลควนสตอ
ชื่อโครงการ | โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กมุสลิมตำบลควนสตอ |
รหัสโครงการ | 68-L5284-02-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)บ้านโต๊ะสะ |
วันที่อนุมัติ | 11 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 25 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 91,880.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1. นายมาหมาด ตั้งใหม่ 2. นายบรอเหม สกุลา 3. นายปรีชา ทิ้งหยา 4. นายหมาดดีน จังแดหวา 5. นายนิรัตน์ ดาแลหมัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.764,100.101place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือการทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า Smegma หรือขี้เปียก นอกจากนี้การขลิบหนังปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็ก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กอีกด้วย รวมถึงในอนาคตผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบอวัยวะเพศแล้วจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย
ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ตั้งอยู่พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 8,656 คน เป็นเด็กอายุ 5 - 12 ปี จำนวน ๘๘๖ คน (ข้อมูลสถิติประชากร แยกรายละเอียดระดับตำบล เขตพื้นที่ตำบลควนสตอ ) ในทัศนะของอิสลามนั้น การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายเป็นการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยและการทำให้บริสุทธิ์ การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชายทุกคน ภาษาอาหรับ เรียกว่า คีตาน ภาษามาลายู เรียกว่า มาโซ๊ะยาวี ส่วนคนไทยโดยทั่วไป เรียกว่า พิธีเข้าสุนัต หมายถึง การขลิบปลายอวัยวะเพศของเด็กมุสลิมชายเมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง 5 - 12 ปี โดยการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความสะอาด หากหนังหุ้มนั้นยังปกคลุมอยู่วัตถุที่คล้ายเนยแข็งซึ่งขับถ่ายออกมาโดยผิวหนังของบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์จะหมักหมมจะส่งผลให้สกปกมีกลิ่นเหม็นมีโอกาศติดเชื้อและเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆได้ การเข้าสุนัตเป็นการขจัดสาเหตุแหแงกาเกิดโรคโดยเป็นวิธีที่ดีที่สุด อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันน้ำปัสสาวะค้างซึ่งเป็นสิ่งสกปรกมีกลิ่น ยากแก่การทำความสะอาด ในด้านการแพทย์ให้ความเห็นว่า การเข้าสุนัตเป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก มุสลิมจังหวัดชายแดนใต้โดยส่วนใหญ่จะทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มักทำกับหมอบ้าน หรือที่เรียกกันว่า โต๊ะมูเด็ง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อกหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องมือร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เนื่องจากสมัยก่อนโต๊ะมูเด็งทำการขลิบโดยไม่ใช้ยาชา ใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ผ้าพันแผล ยางแดง มีด ที่หนีบ (ปงาเป้ะ) หยวกกล้วยและน้ำสะอาด ในปัจจุบันการขลิบสมัยใหม่ดำเนินการโดยกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ และควบคุมการดำเนินงานโดยแพทย์เริ่มมีการใช้ยาชาช่วยลดความเจ็บปวด และใช้แอลกอฮอล์ช่วยทำความสะอาดก่อนขลิบ ขณะขลิบมีการใช้น้ำเกลือทำความสะอาดและใช้ยาทาหลังขลิบเสร็จพร้อมทั้งเย็บแผลด้วยเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย
คณะกรรมการมัสยิดบ้านโต๊ะสะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือการเข้าสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะแบบปราศจากเชื้อจึงเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนสต เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้เด็ก เยาวชนเพศชาย และผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อให้เด็ก เยาวชนเพศชายเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วยการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย 3.เพื่อให้เด็ก เยาวชนเพศชายลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด(bleeding) ภาวะแทรกซ้อน(การอักเสบรุนแรง)และการติดเชื้อหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย 1.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค 2.ร้อยละ100ของเด็กและเยาวชนเพศชายที่เข้าร่วมโครงการได้รับการบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วยการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย 3.ร้อยละ100ของเด็กและเยาวชนเพศชายที่เข้าร่วมโครงการลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด(bleeding) ภาวะแทรกซ้อน(การอักเสบรุนแรง)และการติดเชื้อหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ - ประชุมคณะทำงานกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนดำเนินโครงการและค้นหากลุ่มเป้าหมาย - กำหนดช่องทางประชาสัมพันธ์ค้นหากลุ่มเป้าหมาย รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ - จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ ขั้นดำเนินการ -ดำเนินกิจกรรมโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กมุสลิมตำบลควนสตอ -กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและป้องกันโรคแก่เด็กเยาวชนและผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคและการดูแลรักษาแผลหลังการผ่าตัดหรือขลิบอวัยวะเพศชายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ -กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กมุสลิมตำบลควนสตอ สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
1.เด็ก เยาวชนเพศชาย และผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง 2.เด็ก เยาวชนเพศชายเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วยการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย 3.ให้เด็ก เยาวชนเพศชายลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด(bleeding) ภาวะแทรกซ้อน(การอักเสบรุนแรง)และการติดเชื้อหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2568 23:16 น.