กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใส โรงเรียนบ้านพิเทน
รหัสโครงการ 68-L02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านพิเทน
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2568
งบประมาณ 21,716.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาวสาวไอพี หะยาสาแม็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 209 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความทันสมัย ทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยม ทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหาร เด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไป จะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ และสภาวะเหงือกอักเสบซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กวัยก่อนประถมและระดับประถมศึกษาเป็นส่วนมากและเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดู เนื่องจากการรักษาโรคฟันผุในเด็กวัยก่อนประถมและระดับประถมศึกษาทำได้ยาก เพราะเด็กให้ความร่วมมือน้อย แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ เด็กวัยก่อนประถมและระดับประถมศึกษายังไม่สามารถดูแลตัวเองได้มากนัก ในการพัฒนาด้านใดๆ ก็ตามเด็กวัยนี้ ต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่ และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แกเด็ก จึงเหมาะแก่การปลูกฝังและส่งเสริมด้านการดูแลทันตสุขภาพ การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้น ต้องมีแรงจูงใจหรือการกระทำร่วมกัน ระยะแรกผู้ปกครองต้องแปรงให้เด็กก่อน เมื่อได้รับการกระตุ้นให้เด็กแปรงฟันและ การดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่เยาว์วัย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เด็กเติบโตมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง และสวยงาม โรงเรียนบ้านพิเทน (วันครู 2502) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนประถมและระดับประถมศึกษา จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใสในโรงเรียนขึ้น เพื่อปลูกฝังและสร้างความตระหนักถึงการมีทันตสุขภาพที่ดีและส่งเสริมการสร้างสุขนิสัยที่ถูกต้องในการบริโภค และเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

. วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ 1. แต่งตั้งคำสั่งการดำเนินโครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใส 2. ประชุมเตรียมการดำเนินโครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใส     3. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ 4. กิจกรรมอบรมให้ความรู้หนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใสในเด็กปฐมวัย และระดับประถมศึกษา 5. กิจกรรมการแปรงฟันก่อนละหมาด

ขั้นดำเนินการ ดำเนินการตามกิจกรรม ดั้งนี้ 1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในวันดำเนินเนินโครงการ 1.1 ออกคำสั่งการดำเนินโครงการ 1.2 ประชุมเตรียมงาน 1.3 เตรียมสถานที่ 1.4 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม 2. การอบรมให้ความรู้
2.1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก 2.2 แบบบันทึกการแปรงฟันชั้น อนุบาลปีที่1 - อนุบาลปีที่3 และชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 2.3 แบบบันทึกการคัดกรองกลุ่มนักเรียนที่มีอาการฟันผุ

  1. กิจกรรมที่ดำเนินการในโรงเรียน ๓.1 กิจกรรมการแปรงฟันก่อนละหมาด 3.2 แบบบันทึกการแปรงฟันชั้น อนุบาลปีที่1 - อนุบาลปีที่3 และชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 3.2 การคัดกรองกลุ่มนักเรียนที่มีอาการฟันผุและการส่งรักษาต่อ 3.3 บูรณาการการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน 3.4 คัดกรองนักเรียนที่มีฟันผุและส่งต่อรักษาต่อเนื่อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ     1. นักเรียนในโรงเรียนบ้านพิเทน ( วันครู ๒๕๐๒ ) มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน ร้อยละ 90
2. นักเรียนในโรงเรียนบ้านพิเทน ( วันครู ๒๕๐๒ ) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก ร้อยละ 80     3. นักเรียนในโรงเรียนบ้านพิเทน ( วันครู ๒๕๐๒ ) มีสุขภาพในช่องปากดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ75.00     4. นักเรียนในโรงเรียนบ้านพิเทน ( วันครู ๒๕๐๒ ) นักเรียนรักการแปรงฟันคิดเป็นร้อยละ90     5. นักเรียนมีสภาวะเหงือกอักเสบลดลงและระดับความรุนแรงของเหงือกอักเสบมีลดลง 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2568 10:26 น.