กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี มีสุข ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L7250-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบาลาเซาะห์ ศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 52,815.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุวรรณา หมันสนิท ตำแหน่ง ประธานอสม.ชุมชนบาลาเซาะห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.200374,100.591024place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ภาระที่มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ให้ความสำคัญต่อการคัดกรอง ดูแลรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสุขภาพเชิงรุก ที่มีคุณภาพและครอบคลุมประชากรทั้งในระดับบุคคลและชุมชน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ระบุว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และในเอเชียพบจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้มากที่สุด โดยสูงถึง 58% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากทั่วโลก หรือเป็นจำนวน 10.8 ล้านคน  ขณะที่ประเทศไทย พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน หรือ 58,681 คนต่อปี และอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข) จากข้อมูลดังกล่าวอาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ ประกอบด้วย ๑๐ ชุมชน ได้แก่ ชุมชน วชิราทะเลหลวงดอกรักษ์, ชุมชนวชิราซอยคี่, ชุมชนวชิราทะเลหลวง, ชุมชนวชิราซอยคู่, ชุมชนพิเศษทหารเรือ, ชุมชนพิเศษ ตชด., ชุมชนเก้าเส้ง, ชุมชนบาลาเซาะห์, ชุมชนหลัง รพ.จิตเวช, ชุมชนสนามบิน มีประชากรทั้งหมด 8,056 คน ผลการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี ๒๕67 เป้าหมาย 3,403 คน ผลการคัดกรอง จำนวน 3,291 คน คิดเป็นร้อยละ 96.71 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.01 และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.36 ซึ่งทั้ง 2 กลุ่ม ได้ให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ 2 ส และติดตามผล 3 ครั้ง สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงแนะนำให้เข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์อีกครั้ง ซึ่งถือว่าผลการคัดกรองพบมีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่สงสัยเป็นโรค สูง ทั้ง 2 โรค ฉะนั้น การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการวัดความดันโลหิตหรือตรวจหาน้ำตาลในเลือด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงได้เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชน อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และให้มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเพื่อสร้างความตระหนักให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ดูแลสุขภาพของตนเอง รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพ มีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่าง ๆ ต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุต้องมีการคัดกรอง 9 ด้าน เพิ่มจากวัยทำงาน เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ ได้จัดทำโครงการ สุขภาพดี มีสุข ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใน ๑๐ ชุมชน เน้นให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ ลดเสี่ยง ลดโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาวได้ และผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนทั้ง ๑๐ ชุมชน ได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชน
  1. ประชาชน 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ 90
90.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองตามมาตรฐาน 9 ด้าน
  1. ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองตามมาตรฐาน 9 ด้าน ร้อยละ 80
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงอสม และติดตามประเมินผลคัดกรองสุขภาพ กลุ่ม 35 ปี ขึ้นไป(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 3,815.00              
2 กิจกรรมที่ 2 คัดกรองสุขภาพ(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 49,000.00              
รวม 52,815.00
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงอสม และติดตามประเมินผลคัดกรองสุขภาพ กลุ่ม 35 ปี ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 3,815.00 0 0.00 3,815.00
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 0 3,815.00 - -
2 กิจกรรมที่ 2 คัดกรองสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 49,000.00 0 0.00 49,000.00
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด 0 8,000.00 - -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าวัสดุสตริปพร้อมเข็มตรวจน้ำตาลในเลือด 0 24,000.00 - -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าวัสดุครุภัณฑ์ 0 10,000.00 - -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าสำลีแอลกอฮอร์ 0 1,500.00 - -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกการคัดกรอง 0 3,200.00 - -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าเข้าเล่มเอกสาร 0 300.00 - -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น 0 2,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 52,815.00 0 0.00 52,815.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปทั้ง ๑๐ ชุมชน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อการมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้สูงอายุ ได้รับการคัดกรอง 9 ด้าน สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2568 11:20 น.