โครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L1485-3-25 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง (หน่วยบริการปะเหลียน) |
วันที่อนุมัติ | 10 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 12 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 7,715.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัษฎาวุธ เส็นฤทธิ์ ตำแหน่ง ครูศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในนักเรียนเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและ ทุกคนจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ ไม่ทานผักและทานผลไม้ การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และการทำกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายน้อยลง ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จำพวกผักและผลไม้ กลับเป็นอาหารที่เด็กไม่ชอบรับประทาน แต่ให้สารอาหารจำพวกวิตามินจำนวนมาก ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ซึ่งเป็นสารอาการสำคัญที่ช่วยในกระบวนการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่สำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่ควรได้รับความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องหรือเด็กพิการ ร่างกายและสมองจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วยวัยเด็ก จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็ก
ในปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากที่ไม่ชอบทานผัก เนื่องจากผักส่วนใหญ่มีรสชาติขม และมีกลิ่นฉุน เด็กส่วนใหญ่จึงหันมาชื่นชอบการทานขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีรสชาติอร่อย กลิ่นหอม มีรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูดใจใน การรับประทาน ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กบริโภคอาหาร ที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ทำให้มีการสะสมสารที่ไม่พึ่งประสงค์ภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่าง ๆ ได้ อีกทั้งผู้ปกครองยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของหลักโภชนาการในวัยเด็กและการแปรรูปอาหาร ให้น่ารับประทาน ซ่อนรูปซ่อนกลิ่นของผัก นักเรียนจึงไม่ได้รับการส่งเสริมทางโภชนาการที่ดี และมีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่พึงประสงค์
โดยศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง หน่วยบริการปะเหลียน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 8 คน ครูและพี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 4 คน ได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะโภชนาการและการดูแลสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อให้ผู้ปกครองและครู มีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็ก และสามารถแปรรูปผักและผลไม้เป็นอาหารต่างๆได้เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้ปกครองและครู มีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็ก
|
||
2 | 2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูสามารถแปรรูปผักและผลไม้ สร้างเมนูสุขภาพที่มีคุณค่าทางอาหารให้เหมาะสมตามวัยของเด็กได้
|
||
3 | 3. เพื่อให้นักเรียนรับประทานผักและผลไม้ได้มากขึ้น ให้เป็นไปตามหลักโภชนาการอาหารทั้ง 5 หมู่
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
- ประสานการจัดโครงการ และจัดหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
- ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้
เวลา 09.00 – 12.00 น. - ให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็ก - แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เวลา 13.00 – 16.00 น. - กิจกรรมแปรรูปผัก เป็นขนมโดนัท - กิจกรรมแปรรูปผลไม้ เป็นเครื่องดื่มน้ำผลไม้ปั่น 4. ติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการ 5. สรุปผลโครงการ และรายงานผล
- ผู้ปกครองและครูมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็ก
- ผู้ปกครองและครูสามารถแปรรูปผักและผลไม้ต่างๆได้ สามารถสร้างเมนูสุขภาพที่มีคุณค่าทางอาหารให้เหมาะสมตามวัยของเด็กได้
- นักเรียนรับประทานผักและผลไม้ได้มากขึ้น ครบตามหลักโภชนาการอาหารทั้ง 5 หมู่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2568 14:16 น.