กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวดและประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 68-L4131-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. หมู่ 6
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 23,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาดินละห์ วาแม็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวบุสริน ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษา มีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยมทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็นทั้งๆที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทยทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้านตำรา พันธุ์พืช ที่ใช้เป็นยาสมุนไพร วิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต เป็นต้น มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ และสามารถส่งเสริมฟื้นฟูรักษาสุขภาพได้   ในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลอัยเยอร์เวง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร รับจ้าง ซึงมีรายได้ปานกลางถึงน้อยมากโดยส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำอาชีพแบบจะหาเช้ากินค่ำ ซึ่งไม่ค่อยใส่ใจเรื่องสุขภาพมากนัก เมื่อมีการเจ็บป่วยหรือปวดเมื่อยส่วนใหญ่มักจะหาซื้อยาลูกกลอนหรือยาชุดมากินเอง เนื่องจากมีราคาที่ถูกและสะดวกสามารถซื้อตามร้านทั่วไปได้โดยไม่ได้คำนึงผลเสียที่จะตามมา และประชาชนในชุมชนไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของการรักษาสุขภาพจากใช้สมุนไพรพื้นบ้านทั้งที่ในพื้นที่มีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพและรักษาอาการเจ็บป่วยได้
  ดังนั้นทาง อสม. หมู่ 6 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพและการใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพ และเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจการดูแลรักษาสุขภาพจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อใช้ในการประคบนวด และทำยารักษาบรรเทาอาการเจ็บปวด จึงได้จัดทำโครงการนวดและประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนที่ปวดเมื่อยจากการทำงานสามารถรักษาตนเองได้ในเบื้องต้น ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมในการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพได้

ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมในการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพได้

100.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถทำลูกประคบสมุนไพรด้วยตนเองได้

ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และสามารถทำลูกประคบสมุนไพรได้ด้วยตนเอง

100.00
3 เพื่อลดอาการปวดเมื่อยจากการทำงานด้วยการใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน

ร้อยละของประชาชนสามารถนำสมุนไพมารักษาอาการปวดเมื่อยได้

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,250.00 0 0.00 23,250.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 23,250.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 23,250.00 0 0.00 23,250.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมในการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพได้     2. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และสามารถทำลูกประคบสมุนไพรได้ด้วยตนเอง     3. ประชาชนสามารถนำสมุนไพมารักษาอาการปวดเมื่อยได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2568 11:30 น.