โครงการเสริมสร้างแกนนำด้านทันตสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างแกนนำด้านทันตสุขภาพ |
รหัสโครงการ | 68-L4136-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเปาะเส้ง |
วันที่อนุมัติ | 19 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,140.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอนุวัฒน์ ปารามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยในทุกกลุ่มวัยยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ในขณะที่การเข้าถึงบริการยังมีข้อจำกัด ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีมีผลต่อระบบร่างกายของทุกคนและทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยจะมีผลต่อพัฒนาการสมวัย หากป้องกันปัญหาโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในวัยเด็กได้ โอกาสที่จะเกิดปัญหาของโรคในช่องปากในวัยที่สูงขึ้นน่าจะลดลง ซึ่งสาเหตุของโรคในช่องปากประเด็นหลักมาจากขาดการทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอและจากพฤติกรรมการบริโภคที่มีสิ่งจูงใจจากการโฆษณาทางสื่อต่างๆ การแก้ปัญหาให้ได้ผล จึงต้องขยายขอบเขตการทำงานโดยบูรณาการร่วมกับงานสุขภาพอื่นๆอย่างเป็นองค์รวม สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไปก็มีปัจจัยร่วมหลายๆอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเองการอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปากแก่เด็กก่อนวัยเรียนและประชาชนทั่วไปพร้อมกับ การสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมของแต่ละช่วงวันนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักเห็นว่า เรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรมอาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากลดลงได้
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมแบบครบวงจร คือ การให้สุขศึกษา การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้บริการทันตกรรม การบำบัดรักษา และที่สำคัญมีการเยี่ยมติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องจะทำให้ปัญหาสุขภาพช่องปากลดลงได้ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเปาะเส้ง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก รวมถึงเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ เสริมสร้างแกนนำ ด้านทันตสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 40 | 11,140.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับฟัน โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ | 40 | 11,140.00 | - |
1.แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักและในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง 2.ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักและในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง 3.อัตราการเกิดฟันผุลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 00:00 น.