โครงการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า เเละรณรงค์ป้องกันยาเสพติด
ชื่อโครงการ | โครงการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า เเละรณรงค์ป้องกันยาเสพติด |
รหัสโครงการ | 68-L1467-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามเเละจริยธรรมประจำมัสยิดบ้านสิเหร่ |
วันที่อนุมัติ | 17 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 เมษายน 2568 - 20 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 22 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 32,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายบรรลือ หมวดแดหวา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.425,99.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดนำเข้าของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการทางศุลกากรเข้าในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำเลียงโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ซึ่งความผิดที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งของที่มิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจะได้รับคือ ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดและมี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 ใช้สำหรับกรณีของผู้ที่ ช่วยซ่อนเร้น ซื้อ รับไว้ หรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ใน ครอบครอง ทั้งที่รู้อยู่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นของที่ห้ามนำเข้ามาประเทศไทย ต้องถือว่ามีความผิดเช่นกัน ซึ่งหากถูกจับกุมดำเนินคดีต้องได้รับโทษจำคุกไม่ เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 กำหนดว่า บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าที่ห้ามขายหรือให้บริการ ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องรับโทษเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในสภาวการณ์ปัจจุบันเยาวชนหลายกลุ่ม ชอบหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าร่วมกับการเสพสารเสพติด ซึ่งเป็นค่านิยมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะวัยรุ่นบางคน ก็ถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ไฟฟ้า และเสพสารติดเพื่อให้เพื่อนยอมรับในการเข้ากลุ่ม และไม่มีความรู้ในเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าอีกทั้งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่เป็นตัวบ่อนทำลายให้สังคมอ่อนแอ โดยเฉพาะปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อสังคม ต่อเด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกสถานศึกษา ซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะกระทบต่อสถาบันต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา
เพื่อเป็นการรณรงค์ป้องกันปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นและการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ ที่ส่งผลในทางเสื่อมเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจของเยาวชน
ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดบ้านสิเหร่ ซึ่งเป็นสถาบันให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในเรื่องของหลักธรรมคำสอน คุณธรรมจรยธรรม จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีกิจกรรมที่สร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ได้รับรู้ทราบถึงพิษภัยของสารเสพติดต่าง ๆ พร้อมการรณรงค์ป้องกันยาเสพติด สร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 เพื่อให้นักเรียนป้องกันภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
|
||
2 | 2 เพื่อสร้างผู้นำนักเรียนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด 2.นักเรียนร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๒.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
๒.๒ จัดประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย และรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
๒.๓ ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมการรณรงค์ป้องกันบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
๒.๔ จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางให้นักเรียนและเยาวชนได้รับความรู้และแนวทางป้องกัน
บุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
๒.๕ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ตามแบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการ ที่ได้รับ
งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน
๒.๖ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการตามลำดับขั้นตอนการใช้งบประมาณของทางราชการ
และส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน
๑. นักเรียน ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด 2.นักเรียน ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับรู้ถึงพิษภัยใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด 3. นักเรียน ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2568 13:32 น.