กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ประชาชนวัยใส ใสใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 68-L2529-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มประชาชนหญิง Happy girl
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 19,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาบีบ๊ะ สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพควรได้รับการฝึกปฏิบัติตั้งแต่เด็ก เยาวชน ประชาชน เพราะทุกคนเป็นกำลังของชาติที่ควรได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพ การส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ถูกต้อง รวมถึงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอเป็นกิจกรรมที่สำคัญส่งเสริมให้คนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ก่อให้เกิดพลานามัย ที่แข็งแรงสมบูรณ์ รู้จักทำงานร่วมกันเป็นทีม ปลูกฝังความสามัคคีของผู้ร่วมกิจกรรม สร้างให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และเคารพในกฎ ระเบียบ กติกา การแข่งขันสามารถนำทักษะที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายด้วยกิจกรรมกีฬาทำได้ในช่วงเวลาว่างจากการทำงาน การเล่นกีฬายังช่วยให้ประชาชนห่างไกลยาเสพติดได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนและผู้หลงผิด ปฏิบัติตนไปในทางที่ไม่ควรอยู่มากมาย อาจเกิดการคบเพื่อนไม่ดีชักชวนกันไปในทางที่สร้างปัญหาให้แก่สังคม ไปมั่วสุมอบายมุกต่าง ส่งผลกระทบถึงประเทศชาติทำให้เกิดการพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้า โครงการประชาชนวัยใส ใส่ใจสุขภาพ ประจำปี 2568 จึงมีส่วนที่จะช่วยให้ประชาชนที่มีความสนใจในกีฬาในเวลาว่างเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และพัฒนาความสามารถด้านกีฬาให้ดียิ่งขึ้น แทนที่ใช้เวลาไปกับอบายมุกต่างๆ ทำให้เสียเวลาเสียโอกาสที่ดีแก่ชีวิต และหากได้รับการสนับสนุนให้ฝึกฝนจนมีความสามารถในการแข่งขัน ก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบันหรือประเทศชาติได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ เจตคติ ทักษะ และการการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคติดต่อได้ถูกต้อง
  • ประชาชน มีความรู้ เจตคติ ทักษะ และการการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคติดต่อได้ถูกต้อง
2 ข้อที่ 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมสร้างการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ถูกต้อง
  • ประชาชนสามารถมีการพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมสร้างการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ถูกต้อง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 1. กิจกรรม. การฝึกอบรม 2. กิจกรรม. การฝึกอบรม(2 ธ.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) 19,400.00                    
รวม 19,400.00
1 1. กิจกรรม. การฝึกอบรม 2. กิจกรรม. การฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 19,400.00 0 0.00
2 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรม 50 19,400.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   1.เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการประชาชนวัยใส ใส่ใจสุขภาพ   2. จัดทำโครงการเพื่ออนุมัติ
  3.เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร   4.ประชุมแจงคณะทำงานทำความเข้าใจโครงการและแบ่งหน้าที่ในการทำงาน
  5.จัดอบรมให้กับประชาชนตามกลุ่มเป้าหมาย   6.ตรวจสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนที่เข้าร่วมอบรม   7.ติดตามสังเกตจากความสนใจของประชาชนหญิงผ่านกลุ่มประชาชนหญิง”Happy girl” ต่อการปฏิบัติตน มีความรู้ เจตคติ ทักษะ และการการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้องและมีการพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมสร้างการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ถูกต้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนหญิงร้อยละ 70.00 มีความรู้ เจตคติ ทักษะ และการการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคติดต่อได้ถูกต้อง 2.ประชาชนหญิงร้อยละ 70.00 สามารถพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมสร้างการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2568 15:30 น.