โครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๘
ชื่อโครงการ | โครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ |
รหัสโครงการ | 68-L2529-02-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไอร์แยง |
วันที่อนุมัติ | 10 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 13,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอาหามะ เปาะสา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.152,101.492place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมา ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ระบุถึงการใช้พืชพรรณสมุนไพรตั้งแต่สมัยพุทธกาล การนำสมุนไพรมาใช้ได้ทั้งในแง่การนำมารับประทานเป็นอาหาร เช่น การรับประทานพืชผัก หรือนำมาประกอบเป็นอาหาร นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเวลาเกิดอาการเจ็บป่วย การใช้ลูกประคบสมุนไพรก็เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่คนไทยนำมาใช้กันตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น ท่านคงจะเคยมีประสบการณ์การใช้ลูกประคบสมุนไพรอยู่บ้าง แต่หลายท่านอาจจะไม่ทราบถึงรายละเอียดในเรื่องผล การรักษา วิธีการใช้ อาการที่เหมาะกับการใช้ลูกประคบสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์ ในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย ลูกประคบมีพืชสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น ผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจะใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆเป็นส่วนประกอบ การทำลูกประคบสมุนไพรแบบแห้ง โดยนำสมุนไพรมาทำความสะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้แห้งโดยการอบหรือตากแดด และห่อสมุนไพรแห้งด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านไอร์แยง และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริม ให้สามารถดูแล และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ จึงจัดทำโครงการลูกประคบสมุนไพรเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อได้เผยแพร่ความรู้ให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำลูกประคบและวิธีใช้เบื้องต้นในการรักษาตนเองหรือคนในครอบครัวในยามปวดกล้ามเนื้อ และสามารถสร้างรายได้ในอนาคตได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ ๑ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำลูกประคบสมุนไพร ร้อยละ ๖๐ ของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน มีความรู้เรื่องสมุนไพรที่มีสรรพคุณลดอาการปวดกล้ามเนื้อ |
||
2 | ข้อที่ ๒ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นทิศทางในการสร้างอาชีพรายได้เสริมจากการทำลูกประคบสมุนไพร ร้อยละ ๖๐ ของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ที่สามารถทำลูกประคบเองได้ เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อ |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ๑.จัดอบรมและปฏิบัติ(3 ก.พ. 2568-30 ก.ย. 2568) | 13,000.00 | ||||||||
รวม | 13,000.00 |
1 ๑.จัดอบรมและปฏิบัติ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 100 | 13,000.00 | 0 | 0.00 | |
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ๑.จัดอบรมและปฏิบัติ ๑.๑ จัดอบรม ให้ความรู้กับประชาชน ในการทำลูกประคบสมุนไพร และสอนวิธีการใช้ ๑.๒ กิจกรรมสอนทำลูกประคบสมุนไพรและสอนวิธีการใช้ | 100 | 13,000.00 | - | ||
ขั้นเตรียมการ
๑. จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร
อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการฯ
๓. ผู้รับผิดชอบงานประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานแก่สมาชิกในกลุ่ม
ขั้นดำเนินการ
๑. เสนอโครงการ
๒. ประชาสัมพันธ์โครงการ
๓. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์
4. ดำเนินโครงการโดยจัดอบรมให้ความรู้
๕. ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนตามบ้านที่รับผิดชอบ
ขั้นตรวจสอบและประเมินผล
๑.สรุปและจัดทำรายงานประเมินผลโครงการ
๑. มีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพร ๒. มีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำลูกประคบสมุนไพรและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถนำความรู้เผยแพร่ให้กับคนในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2568 22:26 น.