โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๘
ชื่อโครงการ | โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ |
รหัสโครงการ | 68-L2529-07-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 7 การใช้เงินตามมติบอร์ด |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม ผู้สูงอายุตำบลศรีสาคร |
วันที่อนุมัติ | 10 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 62,744.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุรเราะห์มาน แมรอเบ๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.152,101.492place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 22 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการมีส่วนร่วมจากญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชน เนื่องจากความพิการทางร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตด้านต่างๆ ได้เทียบเท่าคนปกติไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่องในปัจจุบันเราจะเห็นว่าคนมีอายุยืนยาวขึ้นจากความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่การมีอายุยืนยาวไม่ได้หมายถึงการมีสุขภาพที่ดี เราจะเห็นประชาชน หลายคนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ความจำเสื่อม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมองและโรคอัมพาตอัมพฤกษ์ เป็นต้น และ 1 ใน 4 ที่มีปัญหาสุขภาพจะเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ และถ้ามีปัญหาสุขภาพนานเกิน 6 เดือน อาจจะมีเป็นภาวะทุพพลภาพระยะยาว ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา จึงมีนโยบายการดูแลสุขภาพประชาชนระยะยาว โดยการพัฒนาการดูแลประชาชน ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ พื้นที่ตำบลศรีสาคร จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 10,498 คน ในพื้นที่ ม.3 ม.4 ม.6 ม.7 ม.9 มีประชาชนที่มีภาวะพึ่งพิง ระยะยาวจำนวน 29 คน เพศชาย จำนวน 15 คน เพศหญิง จำนวน 14 คน ผู้พิการติดบ้านจำนวน 2 คน ผู้พิการติดเตียง 4 คน ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 19 คน ผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 4 คน ดังนั้นเพื่อให้มีการดูแลผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่อง คลอบคลุม และยั่งยืน ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลศรีสาคร จึงได้จัดทำโครงการ “การดูแลประชาชนที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ปีงบประมาณ 256๘” เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ต่อเนื่องต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงมีสุขภาพดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
|
||
2 | 2.เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ประชาชนและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน(3 ก.พ. 2568-30 ก.ย. 2568) | 62,744.00 | ||||||||
รวม | 62,744.00 |
1 ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 22 | 62,744.00 | 0 | 0.00 | |
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านมอบผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบผู้ใหญ่ให้กับประชาชนที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว จำนวน ๒๒ คน | 22 | 62,744.00 | - | ||
- เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขอพิจารณาอนุมัติ
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการตามกิจกรรม
- ออกเยี่ยมประชาชนที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว 29 คน
- ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพอนามัย/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต/โภชนาการ/ความรู้ในการป้องกันโรคขณะเยี่ยมบ้าน - ช่วยเหลือให้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน - จัดซื้อผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบผู้ใหญ่สำหรับผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง โดยกำหนดจัดหาผ้าอ้อมสำเร็จรูป ทุกๆ 3 เดือน
- ประชาชนที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด 29 คน 2. ชุมชนมีความพร้อมในการดูแลสุขภาพคนพิการและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ 3. คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง หลังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านจิตใจที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2568 20:59 น.