โครงการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า เเละรณรงค์ป้องกันยาเสพติด โรงเรียนบ้านแบรอ ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า เเละรณรงค์ป้องกันยาเสพติด โรงเรียนบ้านแบรอ ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3050-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านแบรอ |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฮานัน เจ๊ะมะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 66 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 12 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 7 ปีขึ้นไป ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด | 20.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล สถานการณ์ปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง แม้จะมีกฏหมายระบุชัดเจนถึงการห้ามขาย ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า แต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการขายอย่างแพร่หลาย และมีการเข้าถึงสถานศึกษา มีการซื้อขายในโรงเรียน ครูบางคนยังไม่รู้จักและไม่รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ปกครองบางคนยังเข้าใจผิด คิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย จึงไม่ห้ามให้เด็กสูบ อีกทั้งผู้ขายหรือผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า ได้ปรับรูปแบบ ปรับกลิ่นให้เข้ากับเด็กๆ และวัยรุ่น ซึ่งมีรูปแบบคล้ายขนม ของเล่นอุปกรณ์การเรียนมีสีสันสดใส แต่แฝงไปด้วยอันตรายร้ายแรงโดยจากข้อมูลในปัจจุบันจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่าผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 30.5 เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่งขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้าได้ระบาดมากขึ้นในเด็กอายุที่ต่ำลง ตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันจาก ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนและคนไทยในปัจจุบัน พบว่าข้อมูลจากผลสำรวจในปี 2564-2565 บุหรี่ไฟฟ้ารุนแรงเพิ่มขึ้นจาก 80,000 คน เพิ่มมา 700,0000-800,000คน ในกลุ่มอายุ 18-30 ปี ผลสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี จำนวน 6,700 คน ในโรงเรียนทั่วประเทศพบว่าปี 2565 เด็กไทยอายุ 13-15ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 17.6% เพิ่มขึ้น 5.3 เท่าจากปี 2558 ที่มีเพียง 3.3% และเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2566 ที่ผ่านมา อีกทั้งกลยุทธ์ส่งเสริมการขายผ่านสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้เด็กและเยาวชนถูกหลอกลวงได้ง่ายขึ้น โดยส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของเด็กและเยาวชนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยงานวิจัยการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ฯของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศจำนวน 6,045 ราย ในปี 2565 พบว่าเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มลองสูบบุหรี่ธรรมดา เพิ่มขึ้น 5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ซึ่งเป็นการย้ำว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูสู่การสูบบุหรี่ธรรมดาและสารเสพติดชนิดอื่นๆทั้งนี้ ในแง่ของนโยบายของรัฐบาล คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมาประกอบด้วย 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1.พัฒนาและจัดการองค์ความรู้ 2.สร้างการรับรู้ภัยและการเสพติดของบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็ก เยาวชน แลสาธารณชน 3.เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 4.พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนมาตรการป้องกัน ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 5.ยืนยันโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้า สำหรับในเขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (จังหวัดตรัง,พัทลุง,สตูล,สงขลา,ปัตตานี,ยะลา,และนราธิวาส) มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอยู่ที่ร้อยละ 8% ซึ่งน้อยกว่าภาพรวมของประเทศที่อยู่ที่ 9.1% โดยข้อมูลจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา (สคร.12) พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมและเทียบเท่าในเขตพื้นที่ภาคใต้จำนวน 5,813 คน พบว่าร้อยละ 14..5 ของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยพบว่านักเรียนชายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 19.6 มากกว่านักเรียนหญิงที่ใช้เพียงร้อยละ 11.2 อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า ทีมงาน TOBENUMBERONEโรงเรียนบ้านแบรอได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า เเละรณรงค์ป้องกันยาเสพติด” เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหานำไปสู่การปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนป้องกันภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
|
20.00 | 40.00 |
2 | เพื่อสร้างผู้นำนักเรียนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด นักเรียนร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด |
20.00 | 40.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 68 | ประชุมทีมงาน TOBENUMBERONEชี้แจงการดำเนินงาน | 0 | 1,000.00 | - | ||
5 ก.ค. 68 | จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางให้นักเรียน ครูและบุคลากร ได้รับความรู้และแนวทางป้องกัน บุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด | 0 | 11,650.00 | - | ||
7 ก.ค. 68 - 20 ก.ย. 68 | การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด (จัดบอร์ดและไวนิลรณรงค์ภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด) | 0 | 2,800.00 | - | ||
7 ก.ค. 68 - 20 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 4 คณะกรรมการติดตามเฝ้าระวังการสูบบุหรี่ไฟฟ้า | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 15,450.00 | 0 | 0.00 |
- นักเรียน ครูและบุคลากร ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
- นักเรียน ครูและบุคลากร ผู้เข้าร่วมอบรมห่างไกลและปลอดภัยจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
3.นักเรียน ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 10:39 น.