โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน พลัส แม่และเด็กปลอดภัย ครอบครัวสุขภาพดี ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน พลัส แม่และเด็กปลอดภัย ครอบครัวสุขภาพดี ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2529-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง |
วันที่อนุมัติ | 10 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 37,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอิสมะแอ ตาเละ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.152,101.492place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 350 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 410 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุดเด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มี พัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ในที่สุดมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์(ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ 10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ) เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดีทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพเก่งดีมีสุข จากการติดตามภาวะโภชนาการเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านไอร์แยง พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 3 ราย ร้อยละ 12.5 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 2 คน ร้อยละ 11.7 ในเด็ก 0- 3 ปี ไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 256๗ ผลเด็กเตี้ย 5 คน ร้อยละ 33.33 ค่อนข้างผอม จำนวน 1 คน ร้อยละ 0.58 และเด็กส่วนสูงดีรูปร่างสมส่วน 8 คน ร้อยละ 53.33 มีพัฒนาการสมวัย ปี 256๗ จำนวน 146 คน ร้อยละ 97.33 ข้อมูลจาก HDC ตำบลมีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทย เติบโต เต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ “โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน พลัส แม่และเด็กปลอดภัย ครอบครัวสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2568”ขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการดูแลครรภ์มมาตรฐานจาก จนท. สาธารณสุข และเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อมารดา และทารกในครรภ์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการดูแลครรภ์ตามมาตรฐานจาก จนท. สาธารณสุข หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกคนพร้อมสามีหรือญาติได้รับการอบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่อย่างน้อย ๒ ครั้ง |
||
2 | ข้อที่ 2. เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อมารดา และทารกในครรภ์ -ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการฝากครรภ์ ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ |
||
3 | ข้อที่ 3 เด็กแรกเกิด- 5 ปี มีภาวะโภชนาการดีและพัฒนาการสมวัย -ร้อยละ 66 เด็กสูงดีสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 66 -ร้อยละ 85 เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ๑. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อบรมให้ความรู้(3 ก.พ. 2568-30 เม.ย. 2568) | 20,000.00 | ||||||||
2 | ๒.อบรมให้กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก(1 พ.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 17,500.00 | ||||||||
รวม | 37,500.00 |
1 ๑. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 200 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
3 ก.พ. 68 - 30 เม.ย. 68 | 1. อบรมให้ความรู้ | 200 | 20,000.00 | - | ||
2 ๒.อบรมให้กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 700 | 17,500.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ๒.อบรมให้กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก | 700 | 17,500.00 | - | ||
ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
๑. ผู้รับผิดชอบงานสำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด
๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการฯ
3. ผู้รับผิดชอบงานประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง
4. ประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม. ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน
ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
๑. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่าย อสม.ทั้ง 5 หมู่บ้าน
๒. นัดหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ความสำคัญของการฝากครรภ์
3. ติดตามให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงพบแพทย์
๔. เยี่ยมหญิงหลังคลอด
๕. เฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-๕ ปี
๕. สรุปประเมินผลโครงการ
๑.หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง ๒.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลรักษาอย่างครบถ้วน ๓.เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนและมีพัฒนาการตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 11:03 น.