ป้องกันการจมน้ำในเด็ก ต่ำกว่า 15 ปี
ชื่อโครงการ | ป้องกันการจมน้ำในเด็ก ต่ำกว่า 15 ปี |
รหัสโครงการ | 2568-L3306-02-022 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอสม. รพ.สต.บ้านพูด |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 23,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอ่าซาน หมัดอาดัม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือน จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตประมาณ 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีอัตราเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึง 10,932 คน โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็กและมักจะพบว่าในช่วงปิดภาคเรียน (มีนาคม – พฤษภาคม ) ของทุกปี เป็นช่วงที่มีสถิติเด็กจมน้ำมากที่สุด จากข้อมูลการเฝ้าระวัง พบว่า เด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คนเนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำ และวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จึงมักกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ และจากการศึกษาของสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค พบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 23.7 และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ เพียงร้อยละ 4.4 ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำมีทักษะ การเอาชีวิตรอดในน้ำ และมีทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า 20.7 เท่า และ 2.7 เท่า ตามลำดับ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด ในปี 2564 ที่ผ่านมา ได้มีผู้เสียชีวิต จากการจมน้ำ 1 ราย ดังนั้นเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด ได้จัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี ขึ้น เพื่อเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทีมผู้ก่อการดี ในชุมชน ให้มีการดำเนินงานและพัฒนาทีมอย่าต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ได้รับความรู้ และฝึกทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำของเด็ก รวมถึงการกู้ชีพ/การปฐมพยาบาลที่ถูกวิธี สำหรับคนจมน้ำ และเพื่อปรับปรุง จัดการสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำสาธารณะให้มีความปลอดภัยกับเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี จึงจัดโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กต่ำกว่า 15 ปี ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ ๑. เพื่อฟื้นฟู พัฒนาทักษะ และความรู้ให้ทีมผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในระดับพื้นที่ ทีมผู้ก่อการดีในชุมชนได้รับการฟื้นฟู และพัฒนาทักษะ และความรู้ อย่างน้อย 1 ครั้ง |
||
2 | ข้อที่ 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีความรู้ และ ทักษะการลอยตัวในน้ำ และช่วยเหลือคนจมน้ำได้ กลุ่มเป้าหมาย เด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ได้รับการอบรมความรู้ และทักษะการลอยตัวในน้ำอย่างน้อย 1 ครั้ง |
||
3 | ข้อที่ 3. เพื่อให้แหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุง แหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนได้รับการพัฒนา และปรับปรุงแก้ไข |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 68 - 22 ก.ค. 68 | 3. การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชน | 0 | 3,600.00 | - | ||
25 เม.ย. 68 | 1. อบรมฟื้นฟูทีมผู้ก่อการดี | 20 | 2,900.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 | 2. อบรม เด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี | 50 | 17,300.00 | - | ||
รวม | 70 | 23,800.00 | 0 | 0.00 |
- ศึกษาข้อมูลสถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำ
- นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
3. จัดประชุมฟื้นฟูความรู้ทีมผู้ก่อการดีภาคีบ้านพูด จำนวน 1 ครั้ง
4. สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง และจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านพูด
5. จัดอบรมผู้ก่อการดีในชุมชน จำนวน 100 คน
6. จัดอบรมสอนหลักสูตร “ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด” ในเด็กอายุ 6 - 15 ปี จำนวน 50 คน
7. สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ผ่านหอกระจายข่าว และจัดนิทรรศการ รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำในหมู่บ้าน/
ชุมชน สถานศึกษา และในรพ.สต. 8. ให้ความรู้ผู้ดูแลเด็ก อายุ 0 - 5 ปี ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านพูด ในวันที่มีคลินิกเด็กดีของ
รพ.สต.บ้านพูด เดือนละ 2 ครั้ง
9. ติดตามการดำเนินงานผู้ก่อการดีภาคีบ้านพูด จำนวน 1 ครั้ง 10. ประเมินผล/ สรุปผลดำเนินงาน/ รายงานผลโครงการฯ
- นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
3. จัดประชุมฟื้นฟูความรู้ทีมผู้ก่อการดีภาคีบ้านพูด จำนวน 1 ครั้ง
4. สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง และจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านพูด
5. จัดอบรมผู้ก่อการดีในชุมชน จำนวน 100 คน
6. จัดอบรมสอนหลักสูตร “ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด” ในเด็กอายุ 6 - 15 ปี จำนวน 50 คน
- ทีมผู้ก่อการดีจากภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง รพ.สต.บ้านพูด ได้รับการฟื้นฟูความรู้ และทักษะในการดำเนินงานในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการจมน้ำในเด็กต่ำกว่า 15 ปี
2. 2. เด็ก อายุ ต่ำกว่า 15 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ และการกู้ชีพ /การปฐมพยาบาล อย่างถูกวิธี - จุดเสี่ยงการจมน้ำในชุมชนได้รับการปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 11:19 น.