โครงการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี ในประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี ในประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5292-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลทุ่งบุหลัง |
วันที่อนุมัติ | 21 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,932.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกรรณิกา โวหาร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.034567,99.685949place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 21 เม.ย. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 22,932.00 | |||
รวมงบประมาณ | 22,932.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 250 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ในระดับสูง คาดประมาณผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ประมาณ 2.2-3 ล้านคน พบความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ชนิดเรื้อรังประมาณร้อยละ 4-5 ของประชากรที่เกิดก่อน พ.ศ.2535 ทั่วประเทศ และในประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดร้อยละ 8.50 รองลงมาคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 8.07 และชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ร้อยละ 8.0 ส่วนประชากรที่เกิดหลัง พ.ศ.2535 ซึ่งได้บรรจุวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศแล้วนั้น พบความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ชนิดเรื้องรังเพียงร้อยละ 0.6 สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เรื้อรัง พบความชุกประมาณร้อยละ 1.2 หรือประมาณ 3-8 แสนคน พบมากในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีความชุกของโรคไวรัสตับอักเสบซี เรื้องรังสูงสุดคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 8.7 ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ร้อยละ 3.94 และพบอัตราเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประมาณการณ์ว่าหากประเทศไทยยังไม่มีการจัดการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจะพบอุบัติการณ์มะเร็งตับเพิ่มมากขึ้นจากปีละ 7,000 คน เป็น 10,000 คน ในอีก 15 ปีข้างหน้า ทั้งนี้โรคไวรัสตับอักเสบบี มีวัคซีนในการป้องกันและสามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาด ส่วนโรคไวรัสตับอแักเสบซี ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการทานยาต้านไวรัสให้ครบ 12 สัปดาห์ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรเข้ารับบริการตรวจคัดกรองและรักษาโดยเร็ว ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุ่งบุหลัง เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ "คัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับบีและซี ในประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า ปีงบประมาณ 2568" ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี 2.เพื่อทราบสถานะการติดเชื้อและเข้าถึงการรักษาของพื้นที่ 1.ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี 2.มีข้อมูลสถานะการติดเชื้อและเข้าถึงการรักษาของพื้นที่ |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.เขียนโครงการ 2.เสนอโครงการ 3.ดำเนินงานตามรายละเอียดของกิจกรรมดังต่อไปนี้ - ประชุมชี้แจงโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบขั้นตอนการดำเนินงาน - คัดกรองผู้มารับบริการภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง - คัดกรองในประชากรเป้าหมายที่เกิดก่อน พ.ศ.2535 ในพื้นที่ตำบลทุ่งบุหลัง - คัดกรองจากกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคลากรสาธารณสุข และผู้ต้องขัง - ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี - ส่งต่อผู้ที่มีผลการตรวจคัดกรองเป็นบวกแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุ่งบุหลัง ให้ได้รับการตรวจยืนยัน และเข้าสู่กระบวนการรักษา - ประเมินผลและสรุปโครงการ
1.ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงทราบสถานะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี 2.ประชากรที่ได้รับการคัดกรองและมีผลพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันสามารถเข้าถึงการรักษาหรือป้องกันโรคได้ 3.ทราบสถานการณ์ของโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 15:27 น.