โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE |
รหัสโครงการ | 68-L4136-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนคุรุชนพัฒนา |
วันที่อนุมัติ | 19 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวคอรีเย๊าะ ปูเต๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โครงการ "TO BE NUMBER ONE" เป็นโครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ ที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดมีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หากเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดแล้ว ย่อมนำความเสียหายมายังตัวเยาวชน ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติอย่างมาก ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จึงทรงมีพระประสงค์มุ่งเน้นการรณรงค์ใน
กลุ่มเยาวชนเป็นเป้าหมายหลัก โดยกลวิธีสร้างกระแสการไม่ข้องแวะกับยาเสพติด รวมทั้งแสดงพลังอย่างถูกต้องเป็นเสมือนการเติมสิ่งที่ดีให้กับชีวิตด้วยการจัดตั้งชมรม “TO BE NUMBER ONE”ในสถานศึกษา ใน
ชุมชนและสถานประกอบการ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ ๑การรณรงค์เพื่อปลุกจิตสำนึก และสร้างกระแสที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้แนวคิดการสร้างกระแส “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด”โดยผ่านสื่อและการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อให้วัยรุ่นและเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของตนเองกิจกรรมในยุทธศาสตร์นี้ได้แก่การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อการจัดกิจกรรมรณรงค์ในหลากหลายรูปแบบการสนับสนุนการรวมตัวกันของสมาชิก TOBENUMBER ONEโดยการจัดตั้งเป็นชมรมTOBENUMBER ONE ที่ประกอบด้วย กรรมการ กองทุนและกิจกรรม เป็นสิ่งแสดงถึงศักยภาพของชมรมด้วยการรวบรวมคนดี คนเก่งและคนที่มีอุดมคติ ที่จะสร้างกิจกรรมดีๆร่วมกัน เพื่อกระตุ้นปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเป็นการรวมพลังสมาชิก TOBENUMBER ONEให้เกิดขวัญกำลังใจมีความเข้มแข็งของจิตใจแก่สมาชิกทั้งประเทศในอันที่จะร่วมแรงร่วมใจกันต่อต้านและป้องกัน ผลักดันให้ยาเสพติดพ้นออกไปจากชุมชนและสังคมไทยโดยเร็ว เพื่อเยาวชนคนไทยจะได้ปลอดภัยจากยาเสพติดตลอดไปด้วยการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดกิจกรรมในโครงการให้มีความหลากหลายและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่๒การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้กับเยาวชนในชุมชน ประกอบด้วย ๒กิจกรรมคือ
กิจกรรมที่ ๑ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้กับเยาวชนในชุมชนได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน การอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการจัดกิจกรรม
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้กับเยาวชน การใช้เทคโนโลยีให้แก่กลุ่มแกนนำเยาวชน และการสนับสนุนให้แกนนำเยาวชนที่ผ่านการอบรมดำเนินการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางจิตให้เยาวชนในชุมชน
กิจกรรมที่ ๒ โครงการพัฒนาและจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (TO BE NUMBER ONEFRIEND CORNER) กิจกรรม ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชนเมืองชุมชนชนบทสถานศึกษาและสถานประกอบการ ภายใต้แนวคิด “ปรับทุกข์สร้างสุขแก้ไขปัญหา พัฒนา EQ” โดยจัดให้มีบริการให้คำปรึกษา(Counseling) บริการฝึกแก้ปัญหา พัฒนา EQ ทั้งด้วยตนเอง กิจกรรมกลุ่มและบริการกิจกรรมเสริมทักษะเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุขด้วยการเสริมสร้างสุขภาพให้แก่วัยรุ่นและเยาวชนด้วยกิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะโดยศิลปินดารา นักกีฬาที่มีชื่อเสียง และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอื่นๆในศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายไปในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนและศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และทัณฑสถาน กระทรวงยุติธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างและพัฒนาเครือข่าย เน้นการสร้างและพัฒนาเครือข่ายสมาชิกเพื่อให้การร่วมมือร่วมใจป้องกันปัญหายาเสพติดมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ในรูปแบบของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ผลผลิตจากการดำเนิน
ตามยุทธศาสตร์ ที่สำคัญผลผลิตหนึ่งคือ การจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE เรียนรู้ระหว่างชมรมทั้งภายในและภายนอกจังหวัด ย่อมเป็นกิจกรรมสำคัญที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับสมาชิกชมรม TOBE
NUMBER ONE ให้มีโอกาสสร้างกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้มีมากขึ้น อันจะเป็นการพัฒนาแนวคิดการพัฒนาให้กับเยาวชน ให้เปิดมุมมองที่กว้างออกไปจนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับจังหวัด ภูมิภาคและระดับชาติ ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 60 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดTO BE NUMBER ONE | 60 | 20,000.00 | - |
1) นักเรียนได้รับโอกาสการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างทักษะเชิงบวกในการป้องกันสารเสพติด
2) นักเรียนได้เพิ่มพูนทักษะ การฝึกทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ
3) นักเรียนตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติด
4) ชุมชนมีความเข้มแข็งมีกระบวนการเอาชนะยาเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 00:00 น.