กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารในแหล่งท่องเที่ยว
รหัสโครงการ L7250-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 354,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปัณฑิตา ชัยวนนท์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.204802,100.598921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัตถุดิบอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน ในปัจจุบันมีการจัดตั้งแผงลอยจำหน่ายอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่นักท่องเที่ยว และประชาชน ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการบริโภค ดังนั้น การควบคุม ดูแล ให้ผู้ประกอบการด้านอาหาร ปรุง ประกอบอาหารให้สะอาดและปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จึงเป็นภารกิจที่สำคัญเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการปรับปรุง รวมถึงพัฒนาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เทศบาลนครสงขลาร่วมกับสถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา ได้กำหนดพื้นที่ผ่อนผันการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 20 จุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดภายในเขตเทศบาลนครสงขลา และถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ อีกทั้งการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสงขลายังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารจึงยิ่งมีความสำคัญ นอกจากประชาชนในพื้นที่แล้วยังมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ควรได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มาจากอาหารและน้ำดื่ม เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพประชาชนทั้งในพื้นที่และนักท่องเที่ยว อีกทั้งอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเทศบาลนครสงขลาอีกด้วย งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มี โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ในด้านการสุขาภิบาลอาหาร อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการแผงลอยจำหน่ายอาหารในแหล่งท่องเที่ยว
  1. ร้อยละ 90 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร
90.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังและตรวจประเมิน แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  1. ร้อยละ 90 ของ แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
90.00
3 3. ตรวจแนะนำผู้ประกอบกิจการแผงลอยจำหน่ายอาหาร พร้อมจัดทำป้ายรับรองมาตรฐานร้านอาหารปลอดภัย
  1. ร้อยละ 90 ของผู้ประกอบกิจการด้านอาหารผ่านการตรวจแนะนำ และได้รับป้ายรับรองมาตรฐานร้านอาหารปลอดภัย
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรม ที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ตามกฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561(3 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) 354,000.00            
รวม 354,000.00
1 กิจกรรม ที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ตามกฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 354,000.00 0 0.00 354,000.00
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 0 70,000.00 - -
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารกลางวัน 0 70,000.00 - -
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 36,000.00 - -
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ในการจัดการประชุมฯ 0 20,000.00 - -
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าชุดทดสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น 0 19,000.00 - -
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าไม้สำลีพันก้านปลอดเชื้อ 0 3,000.00 - -
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าจัดทำป้ายรับรองมาตรฐานเคลือบพลาสติก 0 100,000.00 - -
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชกา 0 36,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 354,000.00 0 0.00 354,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร เพื่อนำไปพัฒนาสถานประกอบกิจการด้านอาหารให้มีความสะอาด และปลอดภัย
  2. ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  3. ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และได้รับป้ายรับรอง “ร้านมาตรฐาน ปลอดภัย”
  4. มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปให้ได้รับความสะดวก และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เกิดความพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป
  5. มีทะเบียนผู้ประกอบกิจการที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อรองรับมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ปี 2569
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2568 16:48 น.